Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของ Nosema ceranae ที่มีผลต่อผึ้งหลังติดเชื้อและสารสกัด พรอพอลิสจากชันโรง Trigona apication ที่เก็บรวบรวมจากจังหวัดชลบุรี ต่อการติดเชื้อโนชีโรมา ปริมาณเชื้อต่อตัว ร้อยละการติดเชื้อในเซลล์ อัตราการรอดชีวิต ปริมาณโปรตีนของต่อมไฮโปฟาริงค์ในผึ้งงานของผึ้งสองชนิดคือ ผึ้งโพรง (Apis cerana) และผึงมิ้ม (Apis florea) โดยให้สารสกัดพรอพอลิสที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ คือ ร้อยละ 50 (50P) และร้อยละ70 (70P) หลังจากป้อนเชื้อโนชีมาที่ละลายในสารละลายน้ำตาลซูโครสร้อยละ50 (w/v) ด้วยความเข้มข้น (Dose) 40,000 สปอร์ ปริมาตร 2 ไมโครลิตรต่อตัว นำมาเลี้ยงในตู้บ่มเชื้ออุณหภูมิ33±2 º C ความชื้นสัมพัทธ์ 50±5 พบว่าอัตราการติดเชื้อภายในเซลล์ อัตราการตายของผึ้งทั้งสองชนิดในกลุ่มทดลองที่ป้อนเชื้อโนชีมาแต่ไม่ได้รับสารสกัดพรอพอลิว คือ กลุ่ม OP และกลุ่ม CE สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควงบคุม CO CP และกลุ่มที่ป้อนเชื้อแต่ได้รับสารสกัดพรอพอลิส คือ กลุ่ม 50P และ 70P แต่จากกการศึกษาพบว่าระดับความเข้มข้นของพรอพอลิส ที่ร้อยละ 50 และร้อยละ 70 ให้ผลไม่แตกต่างกัน อนอกจากนี้การศึกษาปริมาณโปรตีนจากต่อมไฮโปฟาริงค์ของผึ้งทั้งสองชนิดหลังจากป้อนเชื้อโนชีมาและให้สารสกัดพรอพอลิส พบว่าสชั้อโนชีมาส่งผลให้ปริมาณโปรตีนจากต่อมไฮโปฟาริงค์ในผึ้งทั้งสองชนิดลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับเชื้อ (กลุ่มควบคุม CO CP) และกลุ่มที่ป้อนเชื้อแต่ได้รับสารสกัดพรอพอลิส นอกจากนี้อัตราการติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาหลังได้รับเชื้อด้วย จากกการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดพรอพอลิสจากชันโรงชนิด T. apicallis ทำให้อัตราการติดเชื้อ ร้อยละการติดเช อในเซลล์ทางบเดินอาหารส่วนกลางและลดอัตราการตายของผึ้งทั้งสองชนิด นอกจากนี้ทำให้ปริมาณโปรตีนจากต่อมไฮโปฟาริงค์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ป้อนเชื้อแต่ไม่ได้รับสารสกัดพรอพอลิส