dc.contributor.author |
จิตติมา เจริญพานิช |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-06-07T07:58:57Z |
|
dc.date.available |
2021-06-07T07:58:57Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4111 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
th_TH |
dc.description.abstract |
โครงการวิจัยนี้ค้นพบแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถรีดิวซ์เฮกซาวาเลนซ์โครเมียมหรือ Cr(VI) โดยคัดแยกจากตะกอนทะเลของประเทศไทย และทำการจำแนกสายพันธุ์ได้เป็น Bacillus megaterium และ B. cereus แบคทีเรียทั้งสองชนิดสามารถรีดิวซ์ Cr(VI) ที่อยู่ในน้ำเสียสังเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ภายในเวลา 7 วันของการเดินระบบอย่างต่อเนื่องในถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแบทภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าผิวของเซลล์แบคทีเรียมีลักษณะหยาบและมีรูพรุนเมื่ออยู่ในสภาวะที่มี Cr(VI) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุด้วยรังสีเอ็กซ์และภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านพบตะกอนของโครเมียมบนผิวและภายในของเซลล์ แบคทีเรียทั้งสองชนิด การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของหมู่ฟังก์ชั่นที่เกิดขึ้นบนผิวของเซลล์ แบคทีเรียโดยเทคนิค FTIR ไม่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงบนผิวเซลล ของ B. megaterium ขณะที่บนผิวเซลล์ของ B. cereus ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของหมู่ C-O stretching สำหรับอะลิฟาติกเอไมด์เมื่ออยู่ในสภาวะที่มี Cr(VI) เมื่อนำผลการทดลองมาลงโมเดลการดูดซับที่สมดุลพบว่า การดูดซับ Cr(VI) ที่สมดุลของแบคทีเรียทั้งสองชนิดตรงกับไอโซเทอมโมเดลแบบ Freundlich โดยให้ค่า R2 = 0.981 สำหรับ B. megaterium และ R2 = 0.983 สำหรับ B. cereus ในช่วงความเข้มข้นของ Cr(VI) เท่ากับ 10-70 มิลลิกรัมต่อลิตร การวิเคราะห์ค่าจลนศาสตร์ในการกำจัด Cr(VI) ของแบคทีเรียทั้งสองชนิดพบว่าตรงกับโมเดลการรีดักชั่นแบบ pseudo-second order reduction และพบกลไกการดูดซับ Cr(VI) ของ B. megaterium ที่ตรงกับโมเดลแบบ intra-particle diffusion ขณะที่การดูดซับ Cr(VI) ของ B. cereus ตรงกับโมเดลแบบ intra-particle diffusion ร่วมกับ pseudo-second order adsorption model และ Boyd plots ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่า B. cereus และ B. megaterium สามารถนำมาใช้ในการกำจัด Cr(VI) ที่ปนเปื้อนในน้ำเสียต่อไปในอนาคตได้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
เอนไซม์ |
th_TH |
dc.subject |
การฟอกหนัง |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
th_TH |
dc.title |
การผลิตเอนไซม์ตรึงสำหรับประยุกต์ใช้ในการกำจัดโครเมียมจากน้ำทิ้งในกระบวนการฟอกหนัง |
th_TH |
dc.title.alternative |
Construction of an immobilized enzyme for application in chromium removal from tannery wastewater |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
jittima@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2561 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The novel Cr(VI)-reducing bacteria identified as a strain of Bacillus megaterium and B. cereus were isolated from marine sediment in Thailand. The bacteria evidently showed complete reduction of Cr(VI) in synthetic wastewater after 7 days
of continuous operation in batch bioreactor. Scanning electron microscopy images of
the bacterial cell surfaces showed rough and porous in structure under Cr(VI)
treatment. Energy dispersive X-ray spectroscopy and transmission electron microscopy studies revealed the noticeable chromium precipitates on bacterial surfaces and within bacterial inner portions. No significant changes in the surface functional groups of B. megaterium were observed from fourier transform infrared spectrometry while the C-O stretching for aliphatic amines was detected on the
surface of B. cereus after Cr(VI) adsorption. The experimental data of both bacteria
well fitted to Freundlich isotherm (R2 = 0.981 for B. megaterium and R2 = 0.983 for B.
cereus) for the 10-70 mg/L concentration range. Analysis of kinetic studies indicated
that Cr(VI) removal by both bacteria was consistent with the pseudo-second order
reduction model with a good correlation coefficient. The mechanism for the Cr(VI)
adsorption of B. megaterium showed only the fitting of kinetic data with an intraparticle
diffusion model while those of B. cereus represented the other suitable
models (pseudo-second order kinetic model and Boyd plots). These findings suggested that B. cereus and B. megaterium would be applicable candidate for the treatment of Cr(VI) containing wastewater in the future. |
en |