Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของสารอาหารต่อการผลิตพอลิไฮดรอกซีอับคาโนเอตจากเชื้อแบคทีเรีย Alcaligenes latus ที่ผ่านการกลายซ้้า โดยการได้รับ 2 AA และ Acrifavin ตามล้าดับ เปรียบเทียบกับเชื้อดั้งเดิม ผลการศึกษาพบว่า การเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และที่อัตราการเขย่า 150 รอบต่อนาที ด้วยสารอาหารที่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองความเข้มข้น 40 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งคาร์บอนทดแทน น้้าตาลฟรุกโตสร่วมกับการใช้ผงชูรสความเข้มข้น 0.5 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งไนโตรเจนทดแทนแอมโมเนียมคลอไรค์และแอมโมเนียมซับเฟต สามารถผลิตพลาสติกพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงที่สุดเท่ากับ 2.63 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 75.79 โดยมีมวลเซลล์แห้งเท่ากับ 3.47 กรัมต่อลิตร ซึ่งให้ค่าสูงกว่าการเลี้ยงในแหล่งไนโตรเจนทดแทนที่ประกอบด้วยแอมโมเนียมคลอไรค์ต่อผงชูรสในอัตราส่วน 0.25 : 2 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตพลาสติกพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้เท่ากับ 2.43 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 52.83 ของน้ำหนักมวลเซลล์แห้ง แต่สามารถผลิตมวลเซลล์แห้งสูงสุด 4.60 กรัมต่อลิตร