DSpace Repository

การระบาดของเชื้อ Nosema ceranae และความรุนแรงของโรค ในผึ้งหลวง (Apis dorsata Fabricius, 1793) ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author กันทิมา สุวรรรณพงศ์
dc.contributor.author Martin Hussemann
dc.contributor.author สัมฤทธิ์ มากสง
dc.contributor.author แสนชัย นารี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-07T15:35:08Z
dc.date.available 2021-05-07T15:35:08Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4069
dc.description.abstract ผึ้งหลวง (Apis dorsata) เป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทยที่มีขนาดลำตัวและรังขนาดใหญ่ที่สุด ให้น้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์ผึ้งที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์เนื่องจากทำหน้าที่ผสมเกสรให้พืชชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชอาหารหลัก (crop plants) ของประเทศไทย และประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย แต่ในปัจจุบันจำนวนประชากรของรังผึ้งหลวงลดจำนวนลงอย่างมาก เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะ โรคโนซีมา (Nosemosis) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผึ้งชนิดต่าง ๆ ท้องร่วงและตายในที่สุด รวมถึงผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทยด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ สำรวจการติดเชื้อ Nosema ในผึ้งหลวงจากพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย และยังตรวจสอบความรุนแรงของ Nosema ceranae ในผึ้งหลวงวรรณะผึ้งงานภายหลังการติดเชื้อ เป็นระยะเวลา 30 วัน โดยการวัดประสิทธิภาพการติดเชื้อ อัตราการติดเชื้อระหว่างเซลล์ที่ติดเชื้อต่อเซลล์ที่ไม่ติดเชื้อจำนวนร้อยเซลล์, ระดับน้ำตาลทรีฮาโลสในน้ำเลือด และปริมาณโปรตีนของต่อมไฮโปฟาลิงค์ การจัดจำแนกระบุสปีชีส์ของเชื้อ Nosema ใช้ทั้งลักษณะทางกายภาพของ Nosama สปอร์ และวิเคราะห์ผลด้วย qPCR นอกจากนี้ยังได้ทดลองใช้สารละลายไคโตซาน สำหรับควบคุมโรคโนซีมาในผึ้งหลวง ผลการทดลองพบว่า พบการติดเชื้อ Nosema ผึ้งหลวงทุกพื้นที่ทำการสำรวจ และผลการวิเคราะห์ด้วย qPCR พบทั้ง N. ceranae และ N. apis นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อที่ระดับความเข้มข้นสูงส่งผลให้ประสิทธิภาพการติดเชื้อและอัตราการติดเชื้อสูงขึ้น และที่น่าสนใจก็คือ สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1 ppm ทำให้ประสิทธิภาพการติดเชื้อและอัตราการติดเชื้อลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้สารสารละลายไคโตซาน ยังทำให้ระดับน้ำตาลทรีฮาโลสในน้ำเลือด ปริมาณโปรตีนในต่อมไฮโปฟาลิงค์ และการรอดชีวิตของผึ้งหลวงเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สารสารละลายไคโตซาน ควรได้รับการพิจารณาเพื่อเป็นทางเลือกของการใช้สารจากธรรมชาติในรักษาโรคโนซีมา th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ไคโตซาน th_TH
dc.subject ผึ้งหลวง th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การระบาดของเชื้อ Nosema ceranae และความรุนแรงของโรค ในผึ้งหลวง (Apis dorsata Fabricius, 1793) ในประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Distribution and virulence of Nosema ceranae in Thai giant honeybee, Apis dorsata Fabricius, 1793 en
dc.type Research th_TH
dc.author.email Guntima@buu.ac.th th_TH
dc.author.email martinhusemann@yahoo.de th_TH
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative Apis dorsata are the largest native species of Thai honey bees, not only having the biggest body sizes, but also having ability to produce many high value of hive products since they have huge number of colony population. Foragers of this species play the important role in pollination of various plants, especially crop plants of Thailand and other countries in Asia. Nowadays, the honey bee population are decreasing due to the combination among many factors particularly Nosema disease, caused diarrhea in all honey bee species including native species of Thailand. We aims to investigate the distribution of Nosema infection in A. dorsata from difference regions of Thailand, and also to determine the virulence of Nosema ceranae after experimental infection in its workers for 30 days by measuring the infectivity, the infection ratios between infected cells to non-infected cells, trehalose levels in haemolymph, and protein contents of the hypopharyngeal glands. The identification of Nosema species using both morphological characteristics and qPCR was investigated. Moreover, the use of chitosan for the control of Nosemosis in A. dorsata was examined. The results showed that, Nosema infections of A. dorsata were found in all survey areas. The qPCR products of all bee samples revealed that they were N. ceranae, and N. apis. It was shown that increasing doses of Nosema caused increasing infection ration and infectivity. Interestingly, bee treated with 1 ppm chitosan had a lowest infection ratio and infectivity compared to those of others. In addition, chitosan treated bees had significantly higher trehalose levels in haemolymph, hypopharyngeal gland protein contents, and higher survival compared to those of untreated bees. Chitosan could therefore be considered as a possible viable alternative way for the control of Nosemosis to improve bee health. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account