DSpace Repository

การสร้างขั้วไฟฟ้าคาร์บอนเพสที่ปรับปรุงด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบพอลิเมอร์สำหรับตรวจวัดโลหะอันตรายเพื่อติดตามคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายหาดบางแสน

Show simple item record

dc.contributor.author ศศิธร มั่นเจริญ
dc.contributor.author ธนิดา ตระกูลสุจริตโชค.
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-17T11:15:43Z
dc.date.available 2021-04-17T11:15:43Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4040
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณเงินแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.description.abstract โครงการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและวิจัยต่อยอดจากโครงการวิจัยฯ ก่อนหน้า (สัญญาเลขที่ 73/2558 และ 60/2559) โดยการนำอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบไคโตซานมาสร้างเป็นขั้วไฟฟ้าเพื่อวิเคราะห์โครเมียม(VI) ถูกใช้เป็นตัวแทนของโลหะอันตราย ซึ่งในโครงการวิจัยฯ นี้ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมขั้วไฟฟ้าจากอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่พัฒนาขึ้น โดยปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ ชนิดของวัสดุรองรับ ขนาดของวัสดุรองรับ ชนิดของสารเชื่อมขวาง ปริมาตรของสารเชื่อมขวาง และน้ำหนักของอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบด้วยไคโตซาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการศึกษาความสามารถในการนำไฟฟ้าขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้น โดยใช้เทคนิคอิเล็กโทรเคมีคอล อิมพีแดนซ์ สเปกโทรสโคปี (EIS) อีกทั้งยังได้ศึกษาพฤติกรรม (behavior) ระหว่างขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้น และโครเมียม(VI) จากผลการศึกษา พบว่าขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นได้แสดงพฤติกรรมการดูดซับโครเมียม (VI) ขึ้นที่ผิวหน้าของขั้วไฟฟ้า และสำหรับผลการศึกษาคุณลักษณะในการวิเคราะห์ พบว่าช่วงความเป็นเส้นตรงในการวิเคราะห์โครเมียม(VI) ด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้ มีอยู่ 2 ช่วง คือ 0.01 0.3 g/L และ 0.5-30 g/L โดยมีสมการเส้นตรงคือ y = 52.775x + 1.637 (r2 = 0.997) และ y = 4.084x + 23.027 (r2 = 0.997) ตามลำดับ อีกทั้งมีค่าขีดจำกัดต่ำสุด (LOD) เท่ากับ 0.0061 g/L และ 0.0784 g/L ตามลำดับ และเมื่อนำขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมาประยุกต์ใช้สำหรับการวิเคราะห์โครเมียม (VI) ในตัวอย่างน้ำทะเลเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน (ยูวี วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมทรี) พบว่าผลการวิเคราะห์จากทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (tcal เท่ากับ 0.97 และ tcrit เท่ากับ 3.18) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าขั้วไฟฟ้าอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่พัฒนาขึ้นมีศักยภาพในการวิเคราะห์โครเมียม(VI) ในตัวอย่างจริงได้ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพน้ำทะเล - - ชายหาดบางแสน - - ชลบุรี th_TH
dc.subject โลหะหนัก - - ผลกระทบต่อแม่น้ำ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การสร้างขั้วไฟฟ้าคาร์บอนเพสที่ปรับปรุงด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบพอลิเมอร์สำหรับตรวจวัดโลหะอันตรายเพื่อติดตามคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายหาดบางแสน th_TH
dc.title.alternative Frabication of polymer coated magnetic nano-particles modified carbon paste electrode for determination of hazardous metals to monitor the quality of seawater nearby Bangsaen beach en
dc.type Research th_TH
dc.author.email muncharoen@buu.ac.th th_TH
dc.author.email thanida@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative In this work, the chitosan coated magnetic nano-particles from the previous works (grant no. 73/2558 and 60/2559) was developed to prepare the electrode for determination of Cr(VI). The optimum conditions such as types of supporting materials, sizes of supporting material, types of cross-linking reagents and weight of the chitosan coated magnetic nano-particles were investigated. In addition, the conductivity of the proposed electrode using EIS including the behavior between the electrode and Cr(VI) were also studied. The results showed that surface of the proposed electrode and Cr(VI) as the analyte gave the adsorptive behavior. Moreover, the two linearity ranges were observed within 0.01 0.3 g/L และ 0.5-30 g/L. These equations were y = 52.775x + 1.637 (r2 = 0.997) and y = 4.084x + 23.027 (r2 = 0.997) with LODs of 0.0061 g/L and 0.0784 g/L, respectively. Furthermore, the proposed method was applied for Cr(VI) analysis in sea waters. The determined results were validated against the standard method as UV-Vis spectroscopic method. It was observed that the paired t-test results were not significantly different at 95% confidence 95 (tcal = 0.97 and tcrit = 3.18). Consequently, the electrode prepared from the chitosan coated magnetic nano-particles has potentially utilized to determine the Cr(VI) in the real samples. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account