Abstract:
การใช้แมลงโดยเฉพาะกลุ่มแมลงวันหัวเขียวมาใช้ประเมินระยะเวลาหลังการตาย (PMImin) ในการชันสูตรศพในการสืบสวนสอบสวนเริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 13 ในประเทศไทยมีการใช้ข้อมูล การเจริญของแมลงมาใช้ในการประเมินระยะเวลาการตายน้อยมากเนื่องจากขาดข้อมูล คณะผู้วิจัยได้ ศึกษาผลของ อุณหภูมิคงที่ค่าต่าง ๆ ร ะหว่าง 15-40± 2˚C ต่ออัตราการเจ ริญเติบโต (developmental rate) ระยะเวลาการเจริญเติบโต (developmental time) และพัฒนาการของ อวัยวะ ของแมลงวันหัวเขียวที่มีบทบาทสำคัญทางนิติกีฏวิทยาสองชนิดหลักของประเทศไทย คือ แมลงวันหัวเขียว Ch. megacephala และ Ch. rufifacies โดยวัดระยะเวลาตั้งแต่เข้าดักแด้ (pupariation) จนฟักออกเป็นตัวเต็มวัย (eclosion) ความกว้าง ความยาวและน้าหนักของดักแด้ ทุก 8 ชั่วโมง พบว่าค่าเฉลี่ยความยาวเมื่อแรกเริ่มของการเข้าสู่ระยะดักแด้จนถึงระยะก่อนฟักออกมาเป็น ตัวเต็มวัยของ Ch. megacephala ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F29=1.27, P=0.2640) อย่างไรก็ตามความกว้างของดักแด้ระยะแรกและสุดท้ายที่อุณหภูมิ 25±2˚C มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F29=2.95, P=0.0030) น้าหนักเฉลี่ยของดักแด้เมื่อแรกเริ่มของ การเข้าสู่ระยะดักแด้ไปสู่ระยะก่อนฟักออกเป็นตัวเต็มวัย ที่ทุกอุณหภูมิ 15±2˚C 25±2˚C 30±2˚C 33±2˚C และ 35±2˚C ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F29=0.76, P=0.733; F29=0.22, P=0.927; F29=3.93, P=0.0001; F29=0.95, P=0.4880; F29=1.08, P=0.3820) ระยะเวลาการเจริญเติบโตของดักแด้แมลงวันหัวเขียว Ch. megacephala ตัวหนอนระยะ post feeding larvae มีการเจริญเข้าสู่ระยะดักแด้สู่ระยะตัวเต็มวัยทั้งหมดใช้ระยะเวลาน้อยที่สุดคือ 72 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 35±2˚C และใช้ระยะเวลามากที่สุดคือ 408 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 15±2˚C ในขณะที่ ระยะเวลาการเจริญเติบโตของดักแด้ Ch. rufifacies ใช้เวลาน้อยที่สุดที่ 36±2˚C โดยใช้เวลา 115 ชั่วโมง และใช้ระยะเวลามากที่สุดคือ 314 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 15±2˚C พบแมลงวันหัวเขียวที่กระจาย อยู่ทั่วประเทศไทย จำนวน 25 ชนิด (จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง 329 ตัวอย่าง) ได้แก่ Chrysomya rufifacies, Ch. megacephala, Ch. putonia, Ch. pacifica, Ch. rufifacies CR11, Ch. rufifacies voucher, Ch. megacephala CM11, Ch. megacephala isolate 2, Ch. megacephala PUMB 2016-151-11, Luciria ceracata, Phormia regina Meigen, Ch. bezzinia, Ch. saffrania, Ch. albiceps เป็นต้น ชนิดที่พบมากที่สุดของประเทศไทยได้แก่ Ch. rufifacies และ Ch. megacephala ซึ่งเป็นแมลงวันหัวเขียวกลุ่มแรกที่เข้ามาตอมและวางไข่ที่ ศพ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการคำนวณ PMI หรือระยะเวลาหลังการตายได้ อย่างแม่นยำ ถ้าหากได้มีการบันทึกค่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่พบศพ ได้อย่างเที่ยงตรง ควบคุมกับการ จำแนกชนิด (species) ของแมลงวันหัวเขียวได้ถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลการศึกษาครั้งนี้ถือว่ามีประโยชน์ อย่างมากในงานสืบสวนสอบสวนหรือทางนิติวิทยาศาสตร์ ของประเทศไทย"