dc.contributor.author |
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-04-07T06:12:38Z |
|
dc.date.available |
2021-04-07T06:12:38Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4020 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
th_TH |
dc.description.abstract |
โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งแบบเทคโนโลยีดั้งเดิมและแบบกล่องโฟม ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองแรกเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) แบบกล่องโฟมด้วยการประยุกต์ใช้สารสกัดขิง (Zingiber
officinale Roscoe) และใบมะรุม (Moringa oleifera Lam.) ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะ Penicillin-Streptomycin (PS) ความเข้มข้น 0.1% จากการศึกษาพบว่า สารสกัดใบมะรุมมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประยุกต์ใช้ในการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยมากกว่า สารสกัดขิง ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพในการรักษาเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตของกุ้งแชบ๊วยในชุดการ
ทดลองที่เติมสารสกัดใบมะรุมและชุดการทดลองที่เติมสารสกัดขิงมีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ตลอดการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่สารสกัดใบมะรุมมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยได้ดีกว่าสารสกัดขิง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับการเติมยาปฏิชีวนะพบว่าสารสกัดสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดนี้ยังมีประสิทธิภาพต่ำกว่ายาปฏิชีวนะ PS ในด้านการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในการทดลองตอนที่ 2 เป็นการศึกษาแบบแผนความไวต่อยาปฏิชีวนะและยีนความรุนแรงในการก่อโรคกลุ่ม Narrow-spectrum beta-lactamase (NSBL ได้แก่ blaTEM, blaSHV และ blaPSE-1), Extended-spectrum beta-lactamase (ESBL ได้แก่ blaTEM, blaSHV และ blaCTX-M) และ AmpC beta-lactamase (ได้แก่ blaCMY-1 และ blaCMY-2) ของแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ PS และสารสกัดขิงและใบมะรุม ที่แยกได้จากถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยแช่แข็ง โดยพบว่าแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มีความไวต่อยาปฏิชีวนะที่ทำการศึกษาในครั้งนี้จำนวน 18 ชนิด ยกเว้น Plesiomonas shigelloides ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Cefoxitin, Cephalotin, Sulfonamides และ Trimethoprim-sulfamethoxazole ส่วน Staphylococcus aureus subsp. aureus พบว่าดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ได้แก่ Sulfonamides และ Tetracycline และ Staphylococcus epidermidis / S. lugdunensis ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ Tetracycline และแบคทีเรียชนิดสุดท้ายที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ คือ
Tatumella ptyseos ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด ได้แก่ Ampicillin, Cefoxitin และ Cephalotin และไม่พบยีนความรุนแรงกลุ่มนี้ในแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
แบคทีเรียก่อโรค - - การควบคุมคุณภาพ |
th_TH |
dc.subject |
สมุนไพร - - การใช้ประโยชน์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |
dc.title |
การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งแบบเทคโนโลยีดั้งเดิมและแบบกล่องโฟม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Application of Thai medicinal plants for controlling human and aquatic animals pathogenic bacteria in Penaeus merguiensis spermatophores cryopreserved by conventional method and styrofoam box |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
subunti@buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
verapong@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2561 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This project entitled “Application of Thai medicinal plants for controlling
human and aquatic animal pathogenic bacteria in Penaeus merguiensis
spermatophores cryopreserved by conventional method and styrofoam box” was
divided into 2 main experiments. In the first experiment, cryopreservation of banana
shrimp (Penaeus merguiensis) spermatophores using styrofoam box with addition of
ginger (Zingiber officinale Roscoe) or moringa (Moringa oleifera Lam.) extracts (0.1
mg/ml; final concentration each) in comparison with 0.1% Penicillin-Streptomycin
(PS) was developed. Along cryostorage for a year, moringa extract was suitable agent
for cryopreservation of banana shrimp spermatophores. Although similar sperm
viability percentages of post-thawed sperm supplemented with moringa or ginger
extracts were observed, moringa extract significantly reduced (P < 0.05) heterotrophic
bacteria number in cryostored spermatophore, compared with those added with
ginger extract. However, the two tested extracts showed lower efficacy than PS in
terms of elimination of heterotrophic bacteria. In the second experiment, antibiotic
susceptibility and presence of virulent genes (narrow-spectrum beta-lactamase
(NSBL; blaTEM, blaSHV and blaPSE-1), extended-spectrum beta-lactamase (ESBL; blaTEM, blaSHV and blaCTX-M) and AmpC beta-lactamase (blaCMY-1 and blaCMY-2)) of human and aquatic animal pathogenic bacteria isolated from cryostored spermatophores
resistant to PS and moringa and ginger extracts were investigated. Most bacteria used
in this study were susceptible to 18 tested antibiotics with exception of 4 bacterial
species. Plesiomonas shigelloides was resistant to 4 antibiotics e.g. cefoxitin,
cephalotin, sulfonamides and trimethoprim-sulfamethoxazole while Staphylococcus
aureus subsp. aureus was resistant to sulfonamides and tetracycline. Tetracycline
was a only antibiotic that was unable to inhibit Staphylococcus epidermidis /
S. lugdunensis and Tatumella ptyseos exhibited resistance characteristics to
ampicillin, cefoxitin and cephalotin. Lastly, absence of all virulent genes tested in
this study was observed in human and aquatic animal pathogenic bacteria isolates. |
en |