Abstract:
บุคลากรทางการศึกษา เป็นทีมหลักในการหล่อหลอมวิชาการ ความรู้ และทักษะชีวิต ให้แก่นักเรียน ซึ่งการทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีย่อมขึ้นกับความเข้มแข็งทางจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ ตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ ของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออกที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ
2) สร้างโปรแกรมปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ
ของบุคลากรทางการศึกษาจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากสภาพการณ์จริงของบุคลากรทางการศึกษา
ภาคตะวันออก และ 3) สร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาด้วยโปรแกรมปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ สถานการณ์คุณภาพชีวิต และศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ
ของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก มีรายละเอียดดังนี้
ระยะที่ 1 การสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ สถานการณ์คุณภาพชีวิต และศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ ของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก การวิจัยเชิงสำรวจนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ จิตวิญญาณ และคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก รวม 7 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและผู้บริหารโรงเรียน สังกัดโรงเรียนภาครัฐในภาคตะวันออก คำนวณทางสถิติและป้องกันการถอนตัวอีกร้อยละ 5 รวมได้จำนวน 388 คน จากจำนวนทั้งหมด 412,018 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ และแบบวัดมาตรฐาน ได้แก่ แบบวัดความสุขของคนไทย (THI 15) แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (Thai GHQ 28) แบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณ (The Spiritual Well Being Scale : SWBS) และแบบวัดคุณภาพชีวิต (WHOQOL BREF) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการถดถอยสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า
1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.6 มีอายุเฉลี่ย 38 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.7 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเฉลี่ย 12.09 ปี มีภาระงานสอนเฉลี่ย 17.81 ชม./สัปดาห์ ไม่มีโรคประจำตัว ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 74.20, 92.8, 81.44 ตามลำดับ ออกกำลังกายเดือนละ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 35.86 ใช้การเดินออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 58 ช่วงเวลาที่นิยมออกกำลังกาย คือ ช่วง 16.00 18.00 น. คิดเป็นร้อยละ 46.9 และต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 28.35
2) ด้านคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ คุณภาพชีวิตดี (𝑥̅ 97.71) (เกณฑ์ WHOQOL คุณภาพชีวิตดี 96 130 คะแนน) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และด้านจิตใจ อยู่ในเกณฑ์คุณภาพชีวิตดี (𝑥̅ 27.06 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านร่างกาย 27 35 คะแนน), 23.49 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านจิตใจ 23 30 คะแนน) ตามลำดับ) คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม อยู่ในเกณฑ์คุณภาพชีวิตกลาง (𝑥̅ 11.23 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 8 11 คะแนน), 28.59 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านสิ่งแวดล้อม 19 29 คะแนน), 7 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม 4.67 7.35 คะแนน) ตามลาดับ) มีคะแนนความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับคนทั่วไป (𝑥̅ 31.91 (จากคะแนน 33 45 คะแนน)) สุขภาพทั่วไปไม่มีปัญหาสุขภาพจิต (𝑥̅ 2.98 (จากคะแนน 0 5 คะแนน) ความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับสูง (𝑥̅ 57.87 (จากคะแนนระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณรวมระดับสูง 51.34 70.00 คะแนน)
3) ตัวแปรความสุขของคนไทย และตัวแปรระยะเวลาที่เป็นครู มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้สมการทำนายดังนี้ 43.779 + (1.632 x ความสุขของคนไทย) + (0.154 x ระยะเวลาที่เป็นครู) = คุณภาพชีวิต
4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยสถานภาพสมรสต่อคุณภาพชีวิต พบว่า กลุ่มสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตดีมากกว่ากลุ่มโสด หม้าย หย่า แยก 2.03 เท่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p value .008)
5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยรายได้ต่อปัจจัยคุณภาพชีวิต พบว่ากลุ่มรายได้พอใช้เหลือทำทุนสร้างรายได้และกลุ่มรายได้พอใช้เหลือเก็บใช้ฉุกเฉินมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตดี มากกว่ากลุ่มรายได้ไม่พอใช้ 7.68 เท่า และ 4.30 เท่า ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p .000 และ p .001 ตามลาดับ)
6) ความสัมพันธ์ของปัจจัยโรคประจำตัวต่อคุณภาพชีวิต พบว่ากลุ่มไม่มีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตดี มากกว่ากลุ่มมีโรคประจำตัว 2.63 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p .000)
ระยะที่ 2 ศึกษาผลของโปรแกรมจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออกที่สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัย one group pretest
posttest designs (Heiman, 1995) มีกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม โดยการสร้างและพัฒนาโปรแกรมจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณจากการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี จำนวน 55 คน
เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ แบบวัดคุณภาพชีวิต แบบวัดความสุขของคนไทย แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป แบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณ ปรอทวัดอุณหภูมิปลายนิ้ว และโปรแกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ (mind, emotional, and spiritual program: MESP) ประกอบด้วย การทำกิจกรรมกลุ่ม 4 ครั้ง ประกอบด้วยการวางเป้าหมายชีวิต การมีเพื่อนร่วมทีม การ่วมสร้างข้อตกลงสัญญา และการฝึกเกร็งคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการฝึกโยคะ 11 ครั้ง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ดำเนินการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ดำเนินการทั้งสิ้น 15 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย paired sample t test ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตโดยรวม, คุณภาพชีวิตทางกาย, คุณภาพชีวิตและสุขภาพ, คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิตด้านจิต, ความสุขของคนไทย และอุณหภูมิ แตกตางกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ส่วนค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตด้านสังคม ความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยรวม ความผาสุกปัจจุบัน ความผาสุกทางศาสนา และภาวะสุขภาพทั่วไป
ไม่แตกต่างกัน
โดยสรุป แม้ในภาพรวมครูจะมีคะแนนความสุข ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับดี แต่มีการออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง และต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองด้วยการปรับการออกกำลังกาย ดังนั้นในทางนโยบายของสถานศึกษา ควรปรับตารางงานเอื้อให้ครูได้มีโอกาสปฏิบัติตามที่ต้องการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และสุขภาพให้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการใช้โปรแกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณเป็นวิธีการหนึ่งที่ให้ผลดีในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาสังกัดภาครัฐในเขตภาคตะวันออก ซึ่งในการศึกษาต่อไปน่าจะนำไปใช้ขยายผลในกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาในภูมิภาคอื่น ๆ ของไทย"