DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญในเร่วหอมและผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพต้นแบบ

Show simple item record

dc.contributor.author เอกรัฐ ศรีสุข
dc.contributor.author กล่าวขวัญ ศรีสุข
dc.contributor.author ดุสิต วรสวาท
dc.contributor.author วิทยา บุญมั่น
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-15T04:03:27Z
dc.date.available 2020-07-15T04:03:27Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3930
dc.description.abstract สาร 4-methoxycinnamyl p-coumarate (MCC) เป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านอักเสบของเหง้าเร่วหอม วัตถุประสงค์แรกของการวิจัยนี้คือ ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณของสาร MCC และฤทธิ์ต้านอักเสบของเหง้าเร่วหอมที่ปลูกแซมในแปลงปลูกเงาะ มังคุด ลองกอง ปาล์ม และตะเคียน หรือป่าปลูก เหง้าเร่วหอมจะถูกเก็บมาทดสอบเมื่อมีอายุ 6 และ 10 เดือน หลังการปลูก ฤทธิ์ต้านอักเสบประเมินโดยการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ปริมาณของสาร MCC ประเมิน โดยเทคนิค high performance liquid chromatography (HPLC) ผลการทดลองพบว่าปริมาณสาร MCC และฤทธิ์ต้านอักเสบในเหง้าเร่วหอมที่ปลูกในแปลงมังคุด ปาล์ม และตะเคียน หรือป่าปลูกมีค่าสูงกว่าที่พบจากเหง้าที่ปลูกในแปลงเงาะและลองกอง ปริมาณสาร MCC จากเหง้าเร่วหอมที่เก็บจากแปลงทดลองแต่ละแปลงในช่วงเวลา 6 เดือน และ 10 เดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ทำการพัฒนาชาสมุนไพรเร่วหอม ดังนั้นวัตถุประสงค์อันที่สองของการศึกษา คือ ประเมินผลของวิธีการทาแห้งเหง้าและใบเร่วหอม (การอบด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส การทำแห้งด้วยลมในร่ม และการทำแห้งด้วยแสงแดด) ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านอักเสบรวมทั้งสาร MCC ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระประเมินโดยการทดสอบการกำจัดอนุมูล 2,2ꞌ- diphenyl-1- picrylhydrazyl (DPPH) ความสามารถในการรีดิวซ์ และสารประกอบฟีนอลิกรวม จากการศึกษาพบว่าการทำแห้งเหง้าเร่วหอม ด้วยวิธีตากลมในร่ม และการทำแห้งด้วยแสงแดด ทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านอักเสบและสาร MCC สูงกว่าการทำแห้งด้วยการอบด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ส่วนวิธีทำแห้งที่เหมาะสมสำหรับใบเร่วหอม คือ วิธีตากลมในร่ม และการทำแห้งด้วยแสงแดด ทำให้มีฤทธิ์ต้านอักเสบสูงที่สุด ในขณะที่การทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงที่สุด th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เร่วหอม th_TH
dc.subject การอบแห้ง th_TH
dc.subject ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญในเร่วหอมและผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพต้นแบบ th_TH
dc.title.alternative Factor affecting on quantity of active compound in Etlingera pavieana and prototype of health care products th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email ekaruth@buu.ac.th th_TH
dc.author.email klaokwan@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative 4-methoxycinnamyl p-coumarate (MCC) is a major active compound which is responsible for anti-inflammatory effect of Etlingera pavieana rhizomes. The first aim of this research was a comparative study on the amount of MCC and anti-inflammatory activity of E. pavieana rhizome cultivated among the fruit gardens, rambutan, mangosteen, longan, palm and iron wood. The rhizomes were harvested at 6 and 10 months after plantation. The anti-inflammatory activity was evaluated by inhibition of nitric oxide production in lipopolysaccharide-induced RAW 264.7 macrophages. The contents of MCC were carried out by high performance liquid chromatography (HPLC). It was found that MCC levels and anti-inflammatory activity were higher in the rhizomes cultivated in gardens of mangosteen, palm and iron wood than that harvested from rambutan and longan gardens. Non-significant difference in MCC contents between two harvesting times was detected. Moreover, herbal tea from a dried product of E. pavieana rhizomes and leaves was developed. Thus, the second aim of the present study was to evaluate the effects of drying methods (oven drying at 50oC, shade drying and sun drying) on MCC contents and antioxidant as well as anti-inflammatory activity of E. pavieana rhizomes and leaves. Antioxidant activity was evaluated by measuring scavenging effect on 2,2ꞌ- diphenyl-1- picrylhydrazyl (DPPH) radical, ferric reducing power and total phenolic content (TPC). Results showed that shade- and sun-dried rhizomes contained the greater antioxidant and anti-inflammatory activity as well as MCC levels than oven-dried rhizomes. The optimal condition for E. pavieana leaves were shade drying and sun drying which retained the high anti-inflammatory activity, while oven-dried leaves exhibited the highest antioxidant potency and TPC. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account