DSpace Repository

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมีของสารสกัดจากขลู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของ ประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author ชัชวิน เพชรเลิศ
dc.date.accessioned 2020-07-10T01:08:25Z
dc.date.available 2020-07-10T01:08:25Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3926
dc.description.abstract ขลู่ (Pluchea indica Less.) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สามารถพบได้ตามป่า ชายเลน ใบอ่อนและหน่ออ่อนสามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นที่ตามแหล่งที่พบกับสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระยังไม่มีการศึกษามากนัก ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบขลู่จากพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี สมุทรสาคร และอุดรธานี โดยทำการสกัดใบขลู่ในเอทานอลเพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ทดสอบค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก และศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ฟลาโวนอยด์รวม รวมทั้งทำการศึกษาเชิงคุณภาพของสารโพลีฟีนอลชนิดต่าง ๆ โดยวิธีการทำให้เกิดสี และวิธีโครมาโตกราฟีแบบชั้นบาง (TLC) จากผลการทดสอบพบว่า เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ยังพบว่าส่วนสกัดเอทานอลของใบขลู่จังหวัดจันทบุรีมีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูล DPPH สูงที่สุดโดยมีค่า EC50 น้อยที่สุดเท่ากับ 0.090±0.009 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร โดยวิตามินซีและบีเอชทีที่ถูกใช้เป็นตัวควบคุมเชิงบวก มีค่า EC50 เท่ากับ 0.006±0.004 และ0.023±0.016 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อทำการทดสอบค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกพบว่า ส่วนสกัดเอทานอลของขลู่ที่มาจากจังหวัดจันทบุรีถึงแม้จะมีความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกมากที่สุด (283.582±0.002 มิลลิกรัมสมมูลเฟอร์รัสซัลเฟตต่อกรัมของส่วนสกัดใบขลู่) แต่ก็ไม่แตกต่างจากส่วน สกัดของขลู่ที่มาจากจังหวัดสมุทรสาคร อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ส่วนสกัดเอทานอลของจังหวัดสมุทรสาครมีปริมาณฟีนอลรวมมากที่สุดเท่ากับ 87.840±0.270 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมของส่วนสกัด อีกทั้งยังพบว่าส่วนสกัดเอทานอลของจังหวัดสมุทรสาครมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมากที่สุดเท่ากับ 317.300±0.001 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของส่วนสกัด และเมื่อนำทดสอบเชิงคุณภาพทั้งการทดสอบด้วยน้ำยาทดสอบต่าง ๆ รวมทั้งการทดสอบด้วยวิธี TLC ผลปรากฏว่า ในสารสกัดเอทานอลจากชาใบขลู่จากทั้ง 3 จังหวัด มีองค์ประกอบของสารประกอบฟีนอลในกลุ่มฟลาโวน ฟลาโวนอล แซนโทน และแทนนิน อีกทั้งยังมีสารฟลาโวน-โอ-ไกลโคไซด์ ฟลาโวน ซี-ไกลโคไซด์ ฟลาโวนอล โอ-ไกลโคไซด์ นอกจากนี้ยังพบฟลาวาโนน ฟลาโวนอล และ ฟลาโวนอยด์-อะไกลโคนที่มีขั้วสูง ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่าใบขลู่ในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่แตกต่างกัน และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ต่างกันด้วย th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา (งบบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ขลู่ th_TH
dc.subject อนุมูลอิสระ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมีของสารสกัดจากขลู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของ ประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Antioxidant capacity and phytochemicals of Pluchea indica extracts from different areas of Thailand th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email chatchaw@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Khlu (Pluchea indica Less.), Asteraceae, is an evergreen shrub that can be found in mangrove forests. Young leaves and shoots are edible and exhibit pharmacological property. However, there is little data about its antioxidant activity in different areas of Thailand. Therefore, this study interested to determine the antioxidant capacity of the P. indica leaves from four different areas in Thailand: Chantaburi, Samutsakhon, and Udonthani provinces. In this experiment, ethanolic extracts of P. indica leaves were evaluated the antioxidant capacity by DPPH, and ferric ion reducing antioxidant power (FRAP) assays. In addition, the total phenolic (TPC) and total flavonoid contents (TFC) were also investigated. The qualitative study by the color test and TLC analysis was also employed to identify the bioactive compounds in the extracts. For the antioxidant capacity, ethanol extract from Chanthaburi strongly exhibited the DPPH radical scavenging activity with the lowest EC50 of 0.089±0.009 mg/ml. Vitamin C and BHT were used as positive controls with the EC50 values of 0.006±0.004 and 0.023±0.016 mg/ml, respectively. In addition, ethanol extract from Chantaburi also showed the ability to reduce ferric with the FRAP value of 283.582±0.002 mg ferrous sulfate equivalent/g extract. For TPC and TFC determination, the ethanolic extract of P. indica from Samutsakhon had the highest total phenolic and total flavonoid contents of 87.840±0.270 mg gallic acid equivalent (GAE)/g extract and 317.300±0.001 mg quercetin equivalent (QE)/g extract, respectively. Moreover, the flavonoids including flavone, flavonol, xanthone, and tannin were found by the color test. Flavone-O-glycoside, flavone-C-glycoside, flavonol-O-glycoside, and high polarityaglycone part of flavanone, flavonol, and flavonoids were also identified by TLC analysis. This research demonstrates that the extracts of P. indica leave in each area of Thailand are rich in antioxidants and have different antioxidative effects as well. Notably, the extracts from Chantaburi seemed to be the most antioxidant capacity when compared to the other areas. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account