dc.contributor.author |
นรรัตน์ วัฒนมงคล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-04-22T07:16:36Z |
|
dc.date.available |
2020-04-22T07:16:36Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3902 |
|
dc.description.abstract |
ปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศไทยหลายแห่งได้นำเอาโคมไฟแอลอลีดีมาใช้ในการรักษาภาวะตัว
เหลืองในทารกแรกเกิด แต่เนื่องจากโคมไฟนี้นำเข้ามาจากต่างประเทศจึงมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง และหากเครื่องเกิดการชำรุดเสียหายต้องใช้เวลารอรับบริการนาน ส่งผลให้โรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยขาดแคลนเครื่องมือชิ้นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก และเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยด้วย
คณะผู้วิจัยจึงได้นำเสนอการพัฒนาชุดโคมไฟแอลอีดีสำหรับรักษาทารกตัวเหลืองด้วยระบบสมองกลฝังตัวที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำและมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับโคมไฟแอลอีดีที่นำเข้าจากต่างประเทศโคมไฟแอลอีดีที่พัฒนาขึ้นใช้แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 12 โวลต์ ผ่านตัวแปลงไฟฟ้ากระแสสลับแรงดัน 220 โวลต์ ใช้กำลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 54 วัตต์ สามารถควบคุมการทำงานแบบไร้สายได้ นอกจากนั้นยังมีหน้าจอแสดงค่าความเข้มแสงเชิงสเปกตรัม อุณหภูมิภายในโคมไฟ เวลาการใช้งานสะสมของหลอดแอลอีดีวันและเวลาในปัจจุบัน โคมไฟนี้ได้ผ่านการรับมาตรฐานจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ให้ค่าความเข้มแสงเชิงสเปกตรัมสูงสุดเท่ากับ 87.0 ± 3.1 uw/cm2/nm ที่ระยะห่างจากตัวโคมไฟ 30 เซนติเมตร ที่มีค่าความยาวคลื่นเท่ากับ 456.15 ± 0.3 นาโนเมตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์สากล โครงการวิจัยได้นำโคมไฟแอลอีดีที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบรักษาทารกตัวเหลืองจำนวน 50 เคส ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลการรักษาของโคมไฟแอลอีดียี่ห้อ Fanem รุ่น Bilitron 3006 ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศและนิยมนำมาใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทย ผลการทดสอบพบว่าอัตราการลดลงของบิลิรูบิน (ซึ่งเป็นพารามิเตอร์หลักในการประเมิน
ประสิทธิภาพการรักษา) มีค่าสูงกว่า อย่างไรก็ตาม พารามิเตอร์บางตัวอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุได้ไม่ชัดเจนเพราะมีปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้อง |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ |
th_TH |
dc.subject |
ระบบสื่อสาร |
th_TH |
dc.subject |
ระบบสมองกล |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาชุดโคมไฟแอลอีดีสำหรับรักษาทารกตัวเหลืองด้วยระบบสมองกลฝังตัว |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of LED Phototherapy for Neonatal Jaundice with Embedded System |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
norrarat@eng.buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2562 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Nowadays, many hospitals in Thailand use the LED phototherapy to treat jaundice in
newborns. But since this lamp is imported from abroad, the price is up to hundred thousand
baht. Including high maintenance costs and if the device is damaged, it takes a long time to
service. Many hospitals in Thailand is lacking this equipment a lot and there is a disparity in
access to medical care of Thai’s people
The team researchers therefore proposed the development of LED phototherapy for
Neonatal Jaundice with embedded system that it has low production costs and provides the
same treatment efficiency as the LED lamps which imported from abroad. The developed LED
lamp uses a 12 VDC source through adapter 220 VAC, using a maximum power of 54 watts,
wireless control of light intensity. It has LCD display to show the spectrum irradiance, internal
temperature, accumulated usage time of the LED tube and the current date and time. This
lamp has been certified by the National Institute of Metrology (NIM) Thailand. The maximum
spectrum irradiance is 87.0 ± 3.1 uw /cm2/nm at a distance of 30 cm from the LED lamp with
a wavelength of 456.15 ± 0.3 nm, which is in accordance with international medical standards.
The research project led the developed LED lamp to testing with 5 0 jaundice in
newborns at Phahon Phon Phayuhasena Hospital, Muang District, Kanchanaburi Province. The
results were compared with the treatment results of the LED lamp, Fanem Bilitron 3006 model
which imported from abroad and widely used in many hospitals in Thailand. From the
treatment results showed that the decreasing rate of bilirubin (which is the main parameter in
evaluating treatment efficiency) is higher than that of Bilitron 3006 model. However, some
parameters may not be able to clearly identify the cause because there are other factors
involved. |
en |