Abstract:
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตที่เผชิญสิ่งแวดล้อมทะเลเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยพิจารณาผลกระทบของชนิดปูนซีเมนต์ อัตราส่วนการแทนที่บางส่วนของวัสดุประสานด้วยเถ้าลอย และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานของคอนกรีตต่อความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีต พร้อมทั้งศึกษาการเกิดสนิมของเหล็กเสริมและพิจารณากำลังอัดของคอนกรีตด้วย
จากผลการศึกษาที่ระยะเวลา 7 ปี พบว่า คอนกรีตที่ใช้สารปอซโซลานชนิดต่าง ๆ ร่วมกับ
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที 1 มีค่าความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ในสิ่งแวดล้อมทะเล
ที่ดีมาก โดยมีสัมประสิทธิ์ การแพร่คลอไรด์ที่ต่ำและการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมภายใน
คอนกรีตน้อยมาก สำหรับคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่บางส่วนวัสดุประสานร้อยละ 60 มีความ
ต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ที่ดีที่สุด เนื่องจากผลผลิตจากปฏิกิริยาปอซโซลานิกของเถ้าลอย
และขนาดอนุภาคเถ้าลอยที่เล็กทำให้คอนกรีตมีความทึบแน่นขึ้น แต่กำลังอัดของคอนกรีตต่ำลง
อย่างมาก เนื่องจากการแทนที่ด้วยเถ้าลอยที่มากขึ้นหมายถึงปริมาณปูนซีเมนต์ที่ลดลง และเมื่อ
พิจารณากำลังอัดของคอนกรีตร่วมด้วย พบว่า คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอซโซลานและปูนซีเมนต์
ตะกรันถลุงเหล็ก มีกำลังอัดของคอนกรีตที่ดี และมีสัมประสิทธิ์ การแพร่คลอไรด์ที่น้อยและ
ใกล้เคียงกันมาก โดยที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.20 คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอซโซลานมี
กำลังอัดสูงถึงร้อยละ .96 และคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ตะกรันถลุงเหล็กมีกำลังอัดร้อยละ 70 ของ
คอนกรีตควบคุม