DSpace Repository

การคัดเลือกแคลลัสอ้อยทนแล้งและการชักนำให้เกิดต้นโดยใช้สาร polyethylene glycol ในสภาพหลอดทดลอง

Show simple item record

dc.contributor.author ศิรศาธิญากร บรรหาร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-15T06:24:51Z
dc.date.available 2020-04-15T06:24:51Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3889
dc.description.abstract นำปลายยอดอ้อยของอ้อย 2 พันธุ์คือ พันธุ์ขอนแก่น 3 และพันธุ์สุพรรณบุรี 50 มาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม 2,4-D 3 มก./ล ร่วมกับ kinetin 0.5 มก./ล. เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัส เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ความเข้มแสง 2000 ลักซ์ ให้แสงสว่างเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ในอ้อยทั้ง 2 พันธุ์ โดยแคลลัสที่เกิดขึ้นมีสีขาวนวลและแคลลัสที่ได้เกาะกันหลวม ๆ (friable callus) จากนั้นคัดเลือกลักษณะแคลลัสที่ได้มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม 2,4-D 3 มก./ล ร่วมกับ kinetin 0.5 มก./ล. ร่วมกับ PEG 6000 ที่ระดับความเข้มข้น 0, 5, 10, 15 และ 20% จะเห็นได้ว่าแคลลัสของอ้อยทั้งสองพันธุ์ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม 2,4-D 3 มก./ล. ร่วมกับ kinetin 0.5 มก./ล. ที่ไม่มีการเติม PEG แคลลัสที่ได้มีน้ำหนักสดและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากที่สุด และจะเห็นได้ว่าน้ำหนักสดและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแคลลัสลดลง เมื่อได้รับ PEG ในระดับความเข้มข้นที่มากขึ้น หลังจากนั้นวิเคราะห์ปริมาณโพรลีน โปรตีน และแอคติวิตีของเอนไซม์ CAT APX SOD 0พบว่า ทุกระดับความเข้มข้นของ PEG ที่ให้มีผลต่อการสะสมโพรลีน โปรตีน และมีแอคติวิตีของเอนไซม์ CAT APX และ SOD เพิ่มมากขึ้น โดยอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มีปริมาณโพรลีน โปรตีน และแอควิตีของเอนไซม์ CAT APX และ SOD มากกว่าอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ซึ่งเทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกอ้อยที่ทนต่อสภาวะขาดน้ำได้ในอนาคต th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject อ้อย th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การคัดเลือกแคลลัสอ้อยทนแล้งและการชักนำให้เกิดต้นโดยใช้สาร polyethylene glycol ในสภาพหลอดทดลอง th_TH
dc.title.alternative In vitro selection of drought-tolerance sugarcane (Saccharum officinarum L.) callus and regeneration of plantlets from the selected callus lines using polyethylene glycol en
dc.type Research th_TH
dc.author.email siripan@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Shoots of two cultivars sugarcane i.e. Khon Kaen 3 and Suphanburi 50 were cultured in MS medium containing 3 mg/l 2, 4-D and 0.5 mg/l kinetin for callus induction at 25°C and light intensity 2000 lux, 16 hours of light per day. For 4 weeks, it was found that callus can be induced in both cultivars which obtained a white color and friable callus. Then, callus were cultured on MS medium containing 3 mg/l 2,4-D 3 mg/l and 0.5 mg/l kinetin together with PEG 6000 at the concentration 0, 5, 10, 15 and 20% for 4 weeks. From the result, it shown that callus of both sugarcane cultivars that cultured on MS medium containing 3 mg/l 2, 4-D and 0.5 mg/l kinetin without PEG, callus obtained the highest fresh weight and diameter. On the other hand, it could be seen that the fresh weight and callus diameter decreased when receiving PEG 6000 at higher concentrations. The analysis of the amount of proline, protein and activity of the CAT APX SOD enzyme showed that all concentrations of PEG resulted in the accumulation of proline, proteins and the increased activity of the CAT APX and SOD enzymes. Khon Kaen 3 had the proline, protein content and activity of the enzyme CAT APX and SOD more than Suphanburi 50. From this results, this technique can be applied to select sugarcane cultivars that was resistant to dehydration. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account