dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทาง
พระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก เปรียบเทียบการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตาม
แนวทางพระพุทธศาสนา จำแนกตามสถานภาพ และศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนด้าน
คุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก
ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จังหวัดละ 400
คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 จังหวัด จำนวน 1,600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่ง
มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .37-.80 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ
.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) โดยหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบ
ความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของ LSD ใช้วิธีการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติ
ตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก กำหนด
ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาค
ตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X =4.18, SD=.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก
ทั้ง 6 ด้าน เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความกตัญญูกตเวที ( X =4.46, SD=.51)
ความมีระเบียบวินัย ( X =4.34, SD=.58) ความเป็นผู้ว่าง่าย ( X =4.21, SD=.51) ความเมตตากรุณา
( X =4.19, SD=.60) ความขยันหมั่นเพียร ( X =4.10, SD=.61) และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ( X =3.81,
SD=.70)
2. เปรียบเทียบการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของ
เยาวชนในภาคตะวันออก พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ โดยรวมเยาวชนเพศชายและเพศหญิงมีการ
ปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อจำแนกตามเกรดเฉลี่ย โดยรวมเยาวชนที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกันมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรม
จริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนก
ตามระดับชั้นที่ศึกษา โดยรวมเยาวชนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและเยาวชนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
มีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติ เมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา โดยรวมเยาวชนที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรม
จริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนก
ตามสถานภาพการอยู่อาศัย โดยรวมเยาวชนที่มีสถานภาพการอยู่อาศัยต่างกันมีการปฏิบัติตนด้าน
คุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของ
เยาวชนในภาคตะวันออก ได้แก่ 1) มีการขับเคลื่อน ส่งเสริมการปฏิบัติตนของเยาวชน โดยดำเนินการ
ร่วมกันของสถาบันทางสังคม 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบัน
ศาสนา โดยเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวที่ใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด 2) มีการขับเคลื่อน ส่งเสริมการ
ปฏิบัติตนของเยาวชนผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ในสังคมท้องถิ่นภาคตะวันออก โดยสื่อมวลชนต่างๆ
ตระหนักให้ความสำคัญในการผลิต นำเสนอและเผยแพร่ข่าวหรือรายการที่ส่งเสริม สอดแทรก
คุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา 3) การสร้างบุคคลต้นแบบ การเป็นแบบอย่างที่ดีของ
บุคคลที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นภาคตะวันออกหรือบุคคลสาธารณะ เช่น กลุ่มศิลปิน นักแสดง นักร้อง ที่
เยาวชนชื่นชอบ เพื่อให้เป็นบุคคลต้นแบบแก่เยาวชน 4) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 จังหวัด
ควรสร้างเครือข่ายเพื่อดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้มีกิจกรรมคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทาง
พระพุทธศาสนาของเยาวชนในระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อเป็นเวทีให้
เยาวชนได้แสดงออกด้านคุณธรรมจริยธรรม สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมขวัญกำลังใจให้แก่เยาวชนโดย
การให้รางวัลและกล่าวคำยกย่อง |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the practices of morality and ethics in
accordance with the Buddhism disciplines among the juveniles in the East, to
compare the practices categorized by status, and to study the guidelines to promote
the practices of morality and ethics in accordance with the Buddhism disciplines
among the juveniles in the East. The samples consisted of individuals aged 14 -18
years old. These samples reside in the eastern provinces namely Chonburi, Rayong,
Chantaburi, and Trat. 1,600 Samples from eastern provinces (400 each) were selected
by multi stage sampling method. The research instruments comprised questionnaires
with the discrimination at .37-.80 and the reliability at .96. The data was analyzed by
SPSS program with percentage, frequency, mean, standard deviation, t-test, one-way
ANOVA, and pair comparison with LSD. In addition, group discussions of 12
participants were used in this study. The result revealed as follows:
1. The practices of morality and ethics in accordance with the Buddhism
disciplines among the juveniles in the East was high in overall manner (X̅ =4.18, SD
=.46) when considered by aspects the study revealed that all 6 aspects were at high
levels: gratitude (X̅ =4.46, SD =.51), order and self-discipline (X̅ =4.34, SD =.58),
obedience (X̅ =4.21, SD =.51), kindness (X̅ =4.19, SD =.60), diligence (X̅ =4.10, SD
=.61), and generousness (X̅ =3.81, SD =.70).
2. The comparison of the practice of morality and ethics in accordance with
the Buddhism disciplines among the juveniles in the East found that when classified
by sex, holistically male juveniles and female juveniles practices themselves along
with the Buddhism disciplines differently without statistical significance. When
classified by grade point averages, holistically, the juveniles with different GPA
practice themselves differently with the statistical significance at .05. When classified
by level of educations, holistically, the juveniles who were in junior high school and
high school practice themselves along with the Buddhism disciplines without
statistical significance. When classified by hometowns, holistically, the juveniles with
different hometowns practice themselves differently with the statistical significance
at .05. When classified by status of residence, holistically, the juveniles with different
status of residence practice themselves differently with the statistical significance at
.05.
3. The promotion of the practice of morality and ethics in accordance with
the Buddhism disciplines among the juveniles in the East could be conducted by
these 4 guidelines. First, the cooperation of the 3 social institutes which were family,
educational institute and religious institute must be constructed. The initiative
institute should be the family as family was the closest to the juveniles. Second, the
promotion of the practices must be done through local media. All channels and
types of media must realize the significance of Buddhism disciplines and present
these on their programs. Third, role models must be created. Famous people in the
East for instance artists, movie stars, or singers who are popular among the juveniles
must be role models who practice themselves along with the Buddhism disciplines.
And fourth, all governmental institutes in these 4 eastern provinces must build up
networks to seriously and continually promote and supports activities concerning the
practices of morality and ethics in accordance with the Buddhism disciplines among the juveniles in local and national levels in order to give the juvenile stages to express themselves and encourage them by presenting rewards and complements. |
en |