Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทาง
พระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก เปรียบเทียบการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตาม
แนวทางพระพุทธศาสนา จำแนกตามสถานภาพ และศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนด้าน
คุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก
ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จังหวัดละ 400
คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 จังหวัด จำนวน 1,600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่ง
มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .37-.80 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ
.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) โดยหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบ
ความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของ LSD ใช้วิธีการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติ
ตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก กำหนด
ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาค
ตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X =4.18, SD=.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก
ทั้ง 6 ด้าน เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความกตัญญูกตเวที ( X =4.46, SD=.51)
ความมีระเบียบวินัย ( X =4.34, SD=.58) ความเป็นผู้ว่าง่าย ( X =4.21, SD=.51) ความเมตตากรุณา
( X =4.19, SD=.60) ความขยันหมั่นเพียร ( X =4.10, SD=.61) และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ( X =3.81,
SD=.70)
2. เปรียบเทียบการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของ
เยาวชนในภาคตะวันออก พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ โดยรวมเยาวชนเพศชายและเพศหญิงมีการ
ปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อจำแนกตามเกรดเฉลี่ย โดยรวมเยาวชนที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกันมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรม
จริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนก
ตามระดับชั้นที่ศึกษา โดยรวมเยาวชนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและเยาวชนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
มีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติ เมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา โดยรวมเยาวชนที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรม
จริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนก
ตามสถานภาพการอยู่อาศัย โดยรวมเยาวชนที่มีสถานภาพการอยู่อาศัยต่างกันมีการปฏิบัติตนด้าน
คุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของ
เยาวชนในภาคตะวันออก ได้แก่ 1) มีการขับเคลื่อน ส่งเสริมการปฏิบัติตนของเยาวชน โดยดำเนินการ
ร่วมกันของสถาบันทางสังคม 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบัน
ศาสนา โดยเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวที่ใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด 2) มีการขับเคลื่อน ส่งเสริมการ
ปฏิบัติตนของเยาวชนผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ในสังคมท้องถิ่นภาคตะวันออก โดยสื่อมวลชนต่างๆ
ตระหนักให้ความสำคัญในการผลิต นำเสนอและเผยแพร่ข่าวหรือรายการที่ส่งเสริม สอดแทรก
คุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา 3) การสร้างบุคคลต้นแบบ การเป็นแบบอย่างที่ดีของ
บุคคลที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นภาคตะวันออกหรือบุคคลสาธารณะ เช่น กลุ่มศิลปิน นักแสดง นักร้อง ที่
เยาวชนชื่นชอบ เพื่อให้เป็นบุคคลต้นแบบแก่เยาวชน 4) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 จังหวัด
ควรสร้างเครือข่ายเพื่อดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้มีกิจกรรมคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทาง
พระพุทธศาสนาของเยาวชนในระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อเป็นเวทีให้
เยาวชนได้แสดงออกด้านคุณธรรมจริยธรรม สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมขวัญกำลังใจให้แก่เยาวชนโดย
การให้รางวัลและกล่าวคำยกย่อง