DSpace Repository

ตัวแบบสมการโครงสร้างของ การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author สัญญา ยิ้มศิริ
dc.contributor.author แววมยุรา คำสุข
dc.contributor.author มรกต กำแพงเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-12T08:33:40Z
dc.date.available 2020-04-12T08:33:40Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3867
dc.description.abstract การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลโดยรวมของตัวแปรต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารสีเขียวในประเทศไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบสมการโครงสร้างของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบใน การแข่งขันในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารสีเขียวในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือแบบสอบถาม ตัวอย่างจำนวน 280 แห่งที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในประเทศไทย การวิเคราะห์ใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าความเชื่อถือได้ ของแบบสอบถาม และการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยเป็นดังนี้ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวแบบการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และสอดคล้องตามทฤษฎี โดยปัจจัยสังเกตได้มีค่ามาตรฐานน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.322-0.814 ค่าอัตราความผันแปร (R2) เท่ากับ 0.104-0.663 และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า ตัวแบบของปัจจัยมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิง ป ร ะ จัก ษ์ ( Model Fit) มีค่า ท ด ส อ บ ดัง นี้ Chi-square ( 2  ) = = 67.762, df = 53, p = .083, CMIN/DF( 2 /df )= 1.279, GFI=.975, CFI=.995, AGFI=.950, NFI=.976 and RMSEA= .027 ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของความได้เปรียบในการแข่งขันได้ ร้อยละ 87 (R2= 0.87) ซึ่งพบว่า การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจมีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในประเทศไทย ดังนั้นควรเร่งส่งเสริม สนับสนุนเพื่อยกระดับการเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสีเขียวตลอดโซ่อุปทานทั้งต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำให้มีความร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ รวมถึง การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบอย่างยั่งยืน th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณ แผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โซ่อุปทาน th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title ตัวแบบสมการโครงสร้างของ การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ในประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Structural Equation Model of Green Supply Chain Management, Environmental Performance and Economic Performance on Competitive Advantages of Food Industry in Thailand en
dc.type Research th_TH
dc.author.email syimsiri@eng.buu.ac.th th_TH
dc.author.email wawmayura.cha@hotmail.com th_TH
dc.author.email morakhot@hotmail.com th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study direct, indirect, and total influence of variables on competitive advantages in the green food industry in Thailand. In addition, it is to develop the structural equation model of variables that has influence on competitive advantage of green food industry in Thailand. The research was conducted in the form of mixed methods research that included quantitative and qualitative research. In a quantitative part, the survey data was collected by questionnaire from a sample size of 280 companies related to green food industry. A statistical software package was used to analyze statistical data including percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis, and reliability of the questionnaire. It is also used to perform confirmatory factor analysis (CFA) and structural model equation analysis. The results were as follows. From confirmatory factor analysis, it was found that the measurement pattern was consistent with empirical data and theory. Standard regression weight was found to be between 0.322-0.814. Squared multiple correlation ( R2 ) was 0.104-0.663, and the structural model equation analysis showed that the model fit in with the empirical data. The hypothesis test values were as follow: Chi-square ( 2 ) = 67.762, df = 53, p = .083, CMIN / DF ( 2 / df) = 1.279, GFI = .975, CFI = .995, AGFI = .950, NFI = .976 and RMSEA = .027. This was meant that the model could describe 87% of the variance of competitive advantage (R2 = 0.87). Likewise, the study had found that green supply chain management, environmental performance and economic performance had direct, indirect and total influence in a positive way on the competitive advantage of the food industry in Thailand. Therefore, it is important to support and promote green food industry in Thailand including upstream, midstream and downstream in order to elevate competitive advantage and develop this industry in sustainable way. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account