Abstract:
การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลโดยรวมของตัวแปรต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารสีเขียวในประเทศไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบสมการโครงสร้างของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบใน
การแข่งขันในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารสีเขียวในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือแบบสอบถาม ตัวอย่างจำนวน 280 แห่งที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในประเทศไทย การวิเคราะห์ใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าความเชื่อถือได้
ของแบบสอบถาม และการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยเป็นดังนี้
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวแบบการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และสอดคล้องตามทฤษฎี โดยปัจจัยสังเกตได้มีค่ามาตรฐานน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.322-0.814 ค่าอัตราความผันแปร (R2) เท่ากับ 0.104-0.663 และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า ตัวแบบของปัจจัยมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิง
ป ร ะ จัก ษ์ ( Model Fit) มีค่า ท ด ส อ บ ดัง นี้ Chi-square ( 2 ) = = 67.762, df = 53, p = .083,
CMIN/DF( 2 /df )= 1.279, GFI=.975, CFI=.995, AGFI=.950, NFI=.976 and RMSEA= .027 ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของความได้เปรียบในการแข่งขันได้ ร้อยละ 87 (R2= 0.87) ซึ่งพบว่า
การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจมีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในประเทศไทย ดังนั้นควรเร่งส่งเสริม สนับสนุนเพื่อยกระดับการเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสีเขียวตลอดโซ่อุปทานทั้งต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำให้มีความร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ รวมถึง
การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบอย่างยั่งยืน