DSpace Repository

การเพาะเลี้ยงเซลล์จุลินทรีย์ต้นแบบ 3 ชนิดที่ความเข้มข้นสูงด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยง แบบหลายกะลำดับต่อเนื่องอย่างเข้มงวด

Show simple item record

dc.contributor.author เศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-09T02:08:15Z
dc.date.available 2020-03-09T02:08:15Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3801
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาการผลิตเซลล์ต้นแบบ 3 ชนิด (E. coli S. cerevisiae และ A. oryzae) ความเข้มข้นสูง ด้วยสูตรอาหาร BPM โดยใช้โอลิโกเมอร์ของกลูโคสจากการย่อยแป้งมันสำปะหลัง (เดกซ์ทริน) ความเข้มข้นสูงเป็นแหล่งคาร์บอน และการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงบางอย่างเพื่อสามารถขยายขนาดนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้ ทำการศึกษาศักยภาพของอาหารสูตร BPM โดยการใช้ เดกซ์ทรินที่ความเข้มข้นสูงถึง 100 กรัมต่อลิตร ในการเพาะเลี้ยง E. coli และ 60 กรัมต่อลิตรในการเพาะเลี้ยง S. cereviasiae และ A. oryzae โดยการเพาะเลี้ยงแบบกะ (Batch) ในสภาวะให้อากาศ การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงแบบหลายกะล าดับต่อเนื่องอย่างเข้มงวด (Intensively Multiple Sequential Batch Technique) ในระดับถังหมักขนาดบรรจุ 5 ลิตร พบว่าสูตรอาหาร BPM มี ประสิทธิภาพสูงส าหรับการเพาะเลี้ยงโดยเฉพาะเมื่อมีการเติมยีสต์สกัด ยิ่งกว่านั้นยังพบว่าการใช้เดกซ์ทรินเป็นแหล่งคาร์บอนมีประสิทธิภาพกว่าการใช้กลูโคส E. coli มีค่าน้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ 37.30, 32.20 และ 31.80 กรัมต่อลิตร ด้วยการหมักแบบสามกะต่อเนื่องในเวลา 36 ชั่วโมง คิดเป็นอัตราการผลิตเซลล์สูงถึง 2.88 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง อัตราการเจริญจำเพาะเฉลี่ย เท่ากับ 0.47 ต่อชั่วโมงและอัตราการใช้น้ำตาลเฉลี่ยเท่ากับ 7.01 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ S. cerevisiae มีค่าน้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ 37.27, 38.23 และ 39.03 กรัมต่อลิตร ด้วยการหมักแบบสามกะต่อเนื่องในเวลา 108 ชั่วโมงคิดเป็นอัตราการผลิตเซลล์สูงถึง 1.06 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง อัตราการเจริญจำเพาะเฉลี่ย เท่ากับ 0.26 ต่อชั่วโมงและ อัตราการใช้น้ำตาลเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และ A. oryzae ค่าน้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ 27.86, 27.95 และ 28.13 กรัมต่อลิตร ด้วยการหมักแบบสามกะต่อเนื่องในเวลา 216 ชั่วโมง คิดเป็นอัตราการผลิตเซลล์สูงถึง 0.388 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง อัตราการเจริญจำเพาะเฉลี่ย เท่ากับ 0.07 ต่อชั่วโมงและ อัตราการใช้น้ำตาลเฉลี่ยเท่ากับ 0.48 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งสูงเทียบเคียงได้กับการเพาะเลี้ยงแบบเติมกะ (Fed-Batch) ทั่วไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การเพาะเลี้ยงเซลล์จุลินทรีย์ต้นแบบ 3 ชนิดที่ความเข้มข้นสูงด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยง แบบหลายกะลำดับต่อเนื่องอย่างเข้มงวด th_TH
dc.title.alternative High-Cell-Density Cultivation of Three Model Microorganisms with Intensively Multiple Sequential Batch Technique en
dc.type Research th_TH
dc.author.email saethawa@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative This research was to study the high-cell-density production of E. coli and S. cerevisiae with the BPM medium using glucose oligomer (dextrin) from cassava starch hydrolysis as carbon source at a high concentration and some techniques for industrialscaleable cultivation. The potential of BPM medium (Batch Production Medium) with dextrin at a concentration of 100 g/l for E. coli and 60 g/l for S. cerevisiae and A. oryzae was studied using aerobic batch cultivation. The use of technique Intensively Multiple Sequential Batch with BPM medium in a 5-L fermenter gave high efficiency for cell cultivation especially with the supplement of yeast extract. Moreover, it was found that, as carbon source, dextrin was much better than glucose. The BPM with dextrin gave E. coli cell concentrations of 37.30, 32.20 and 31.80 g/l with three sequential batches within 36 h. giving a high production rate of 2.88 g/l/h, specific growth rate was 0.47 h-1 and rs was 7.01 g/l/h. Whereas, the cultivation gave S. cerevisiae cell concentration of 37.27, 38.23 and 39.03 g/l with three sequential batches within 108 h. giving a high production rate of 1.06 g/l/h, specific growth rate was 0.26 h-1 and rs was 3.32 g/l/h. which was comparable with a normal fed-batch technique.และ A. oryzae gave the cell of 27.86, 27.95 and 28.13 g/l with three sequential batches within 216 h. giving a high production rate of 0.388 g/l/h, specific growth rate was 0.07 h -1 and rs was 0.48 g/l/h. which was comparable with a normal fed-batch technique. en
dc.keyword การเพาะเลี้ยงเซลล์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account