DSpace Repository

การสะสมโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมทางน้ำและผลกระทบต่อโลมาอิรวดี บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด

Show simple item record

dc.contributor.author ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
dc.contributor.author เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์
dc.contributor.author ชลาทิพ จันทร์ชมภู
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-02-17T03:14:33Z
dc.date.available 2020-02-17T03:14:33Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3780
dc.description.abstract การสะสมโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมทางน้ำและผลกระทบต่อโลมาอิรวดี บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมต่อโลมาอิรวดี ในบริเวณพื้นที่อ่าวตราด โดยการศึกษาแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วงเวลาซึ่งเป็นตัวแทนของฤดูกาลได้แก่ เดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม และสิงหาคม 2561 ทั้งนี้ทำการศึกษาโลหะหนักประกอบด้วยทองแดง ตะกั่ว และแคดเมียม ที่สะสมในน้ำ ดินตะกอน ปลา และโลมาอิรวดีที่เกยตื้นบริเวณอ่าวตราด โดยทำการเก็บตัวอย่างครอบคลุมพื้นที่อ่าวตราดทั้งสิ้น 9 สถานี ผลการศึกษาพบว่า การปนเปื้อนของโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม และทองแดง พบโลหะหนักในน้ำและดินตะกอนมีความสัมพันธ์กับฤดูกาล (p<0.05) ซึ่งฤดูฝนจะพบโละหนักในน้ำมากกว่าฤดูแล้ง ส่วนช่วงฤดูแล้งจะพบโลหะหนักในดินตะกอนมากกว่าฤดูฝน โดยโลหะหนักที่พบในน้ำและดินตะกอนมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำและดินตะกอนที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด ส่วนการสะสมในสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของโลมาพบว่า ปลาที่หากินบริเวณผิวหน้าดิน (demersal fish) จะมีการสะสมโลหะหนักมากกว่ากลุ่มปลากลางน้ำ (pelagic fish) ซึ่งค่าที่พบในปลาทั้ง 2 กลุ่มยังคงมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม โลหะหนักในกลุ่มของตะกั่วและแคดเมียม มีแนวโน้มสะสมในเนื้อปลาค่อนข้างสูง จึงควรมีการเฝ้าระวังในปลากลุ่มดังกล่าว สำหรับการสะสมโละหนักในโลมาพบว่า โลมาที่เข้ามาเกยตื้นบริเวณอ่าวตราดช่วงที่ทำการศึกษามีการสะสมของ ตะกั่ว แคดเมียม และทองแดง ต่ำกว่าการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมบริเวณอ่าวตราดมีการปนเปื้อนของมลพิษในกลุ่มของโลหะหนักในระดับต่ำดังที่กล่าวมาแล้ว อีกทั้งบริเวณนี้ ยังคงไม่มีแหล่งกำเนิดด้านโลหะหนักที่ชัดเจน ดังนั้นควรมีการพิจารณาพื้นที่อ่าวตราดเป็นพื้ที่ที่เหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับการอยู่อาศัยของสัตว์ในกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนม (โลมา) และมีมาตรการในการคุ้มครองพื้นที่ในอนาคตต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โลหะหนัก th_TH
dc.subject มลพิษทางน้ำ th_TH
dc.subject นิเวศวิทยาทะเล th_TH
dc.subject โลมาอิรวดี th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การสะสมโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมทางน้ำและผลกระทบต่อโลมาอิรวดี บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด th_TH
dc.title.alternative Accumulation of Heavy Metals in Aquatic Environment and Impacts on Irrawady Dolphins in Trat bay, Trat Province en
dc.type Research th_TH
dc.author.email patrawut@buu.ac.th th_TH
dc.author.email ffisspm@ku.ac.th th_TH
dc.author.email junchompoo@yahoo.com th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Heavy metal accumulation in the aquatic environment and the impacts on the Irrawaddy dolphin In the Gulf of Trat, Trat Province. The aims of this study are to determine the changing and effects of heavy metals in the environment and animals. The 9 stations sampling site was in February, May and August 2018. To measurement of Cu, Pb, and Cd in seawater, sediment, fish tissues, and carcasses dolphin tissue sample. The results showed that heavy metal concentration in seawater and sediment related to sampling season (p<0.05). The high concentration in seawater was in the rainy season. In the sediment was a high concentration in the dry season. The accumulation of Pb and Cd in fish tissues found that the demersal fish was higher than the pelagic fish. However, all those samples the concentration of heavy metal was low due to the water quality standard. The concentration in the carcasses dolphin tissue sample was lower than the literature reviewed. Due to the environment in Trat Bay is contaminated with a low level of heavy metal. There are few sources of heavy metal. Therefore, could be considered that the Trat Bay is a friendly environment for the marine mammal as habitat, foraging, and nursing. The further effort to promote this area to a protected area in the future en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account