Abstract:
งานวิจัย หม้อ ไห ถ้วย โถ โอ ชาม: วัฒนธรรมอาหารในงานเซรามิก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น ของภาชนะและวัฒนธรรมอาหารในยุคสมัยต่าง ๆ และนามาสร้างสรรค์งานศิลปะเซรามิก จากการศึกษา ประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผา 3 ช่วง ยุคสมัย ทำให้ทราบว่า ยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ มีภาชนะสาหรับการหุงหาอาหาร ที่เรียบง่าย รูปทรงเหมาะสมกับการใช้งาน คือหม้อมีสัน หม้อก้นกลม ถ้วยขนาดเล็ก และไห ไม่ค่อยมีการตกแต่งที่สวยงาม แต่ภาชนะหม้อไห ขนาดใหญ่ที่มีการตกแต่ง ด้วยการเขียน ลาย เรขาคณิตสีแดงนั้น ล้วนเป็นภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรม
ส่วนอาหารก่อนประวัติศาสตร์ นั้น ว่ากันว่า คือ ข้าว ปลา และเกลือ
สมัยสุโขทัยถึง อยุธยา ภาชนะที่ทาด้วยเครื่องปั้นดินเผา มีรูปแบบที่หลากหลาย โดดเด่น และ
มีความสวยงาม ด้วยลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาแบบสีเขียวอมฟ้าและแบบเขียนลายใต้เคลือบ
ที่เรียกว่า เครื่องศิลาดล สำหรับอาหารคาวยังคงเป็น ข้าว ปลาสัตว์ขนาดเล็ก และพืชผัก สมุนไพร ด้วยวิธีการแกง และต้ม โดยมี ข้าวตอกน้าผึ้ง ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง เป็นขนมหวาน
สมัยอยุธยาตอนกลางถึงต้นรัตนโกสินทร์ ภาชนะเกี่ยวกับอาหาร เป็นสินค้าที่มาจากจีน ได้แก่
เครื่องลายคราม และเครื่องถ้วยลายเขียนสี ต่อมามีการสั่งทำเครื่องถ้วยจากจีนด้วยรูปแบบลวดลาย
แบบไทย เรียกว่า เครื่องถ้วยเบญจรงค์ ส่วนอาหารในสมัยนี้ มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดอาหารคาว
หวานในแบบแผนใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส เปอร์เซีย และจีน โดยช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์
ถือว่าเป็นช่วงรุ่งเรืองสูงสุดของภาชนะ และวัฒนธรรมอาหารราชสำนัก
จากการศึกษาจึงได้นำลักษณะที่โดดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะ
หม้อ ไห ถ้วย โถ โอ ชาม มาสร้างสรรค์งานเซรามิก เป็นงานศิลปะแบบจัดวาง โดยผสมผสานวัฒนธรรมอาหาร จำนวน 6 ชุดผลงาน คือ ชุด บลูบ้านเชียง (Blue Banchieng) ชุด สามขาสุโขทัย ชุด สองหูสุโขทัย ชุด ลายดอกสุโขทัย ชุด ช่อดอกเบญจรงค์ และชุด กลีบดอกเบญจรงค์
ผลการศึกษาและผลงานสร้างสรรค์ เป็นการสืบสานต่อยอดเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นต้นแบบและแนวทางในการพัฒนาเพื่อปรับใช้กับงานและกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป