dc.contributor.author |
ตฤณ กิตติการอำพล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-01-31T03:00:42Z |
|
dc.date.available |
2020-01-31T03:00:42Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3750 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลงานประติมากรรมในการพัฒนาการทรงตัว พัฒนาความสัมพันธ์
ระหว่างตากับมือ โดยใช้กระบวนการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) แบบ The
Exploratory Sequential Design โดยใช้แผนวิจัยแบบบูรณาการ เป็นวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์
ทัศนศิลป์ (Practice led Research) และการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยควบคู่กันไป ผู้วิจัยในฐานะเป็น
ประติมากรมีความสนใจที่จะศึกษาพัฒนาผลงานประติมากรรม โดยอาศัยหลักการทฤษฎีจาก
กระบวนการด้านกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) ศิลปะแบบไคเนติก (Kinetic Art) นำมา
บูรณาการให้ได้ผลงานประติมากรรมที่สามารถเป็นทางเลือกในการบำบัดเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและการค้นคว้า ระยะที่ 2
การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ พบว่า ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และทางทัศนศิลป์ พบว่า
การบำบัดสอดคล้องในการพัฒนาระบบทรงตัว การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ และด้าน
ความงามสามารถแสดงถึงความเป็นเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ มีการพัฒนา
จากผลงานเดิมได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการใช้รูปร่าง รูปทรง เส้น พื้นผิว มวล ปริมาตร พื้นที่ว่าง
รวมไปถึง การจัดองค์ประกอบมีความกลมกลืน สมดุล และมีความเป็นเอกภาพกับพื้นที่ได้อย่าง
เหมาะสม ระยะที่ 3 การทดลองทดสอบผลการใช้ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษ ผลงานที่พัฒนาขึ้นมาเป็นลักษณะผลงานประติมากรรมที่ประกอบด้วยเครื่องมือที่เป็น
กิจกรรมการปฏิบัติที่สอดคล้องช่วยส่งเสริมในการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญ
และจากการทดสอบทางด้านกายภาพ ระยะเวลาทำการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน การ
ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบค่ามัธยฐาน พิสัยควอไทล์ The Sign Test for Median: One
Sample แบบสมมุติฐานนอนพาราเมติก The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีการบูรณาการพัฒนา
เครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดและความงาม อยู่ในระดับดีมาก
2. ความสามารถในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก และการกระตุ้นระบบประสาท
สัมผัสทางกาย มีประสิทธิผล ดังนี้
2.1 เด็กที่มีความต้องการพิเศษมีความสามารถในการทรงตัวสูงขึ้น หลังจากใช้
ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ สูงขึ้น
หลังจากใช้ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล
(งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2560 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title |
การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Therapeutic Sculpture for Children with Special Child |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
trink@go.buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2561 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to develop the sculpture for body balances and coordination between
eyes and hands by the use of mixed methods research with the exploratory sequential design
together with practice led Research with qualitative integration styles.
A sculpture has studied and developed pieces of sculpture based on theory of Occupational
Therapy with Kinetic and Element of Art. They have been integrated to be pieces of sculpture for
alternative treatments for children with autism. The processes have been divided into 3 sections, 1)
research studies, 2) created and find Quality instrument 3) pieces of sculpture experiment by pretest and
posttest. Sculpture designs have consisted of tools as relevant activities and treatment-support children
with special child that evaluated by the experts also visual arts experts. The work in the field of
consistent therapy in the development of body balances and coordination between eyes and hands. Art
composition is developed from the original works perfectly. Whether it is shape, line, surface, mass,
volume, space, composition, harmony, balance and unity with the suitable area respectively. As the
physical results the experiment periods were 4 weeks (5 days a week)
The evaluation data’s analysis was median and interquartile range to paths with the sign test
for median; One sample and the Wilcoxon matched pairs signed-ranks test.
The results of research showed that:
1. Evaluation of pieces of sculpture for children with autism treatment in term of qualitative
of aesthetic and efficiency of instruments by experts showed excellent quality. The relevant detail has
approved as shown in hypothesis 1
2. Effectiveness of the children treatment evaluation with autism who have physical senses
problem, Gross Motor and Fine Motor and stimulate in physical senses pretest and posttest of the
treatment showed good performance level and satanical difference at .05 levels, Relevant to hypothesis
as follows
2.1 Ability to improve Gross Motor function after using Therapeutic Sculpture for
Children with Autism was significantly higher at .05 level.
2.2 Ability to improve Fine Motor function after using Therapeutic Sculpture for
Children with Autism was significantly higher at .05 level. |
th_TH |
dc.keyword |
ประติมากรรม |
th_TH |
dc.keyword |
กิจกรรมบำบัด |
th_TH |