DSpace Repository

ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดเอทานอลจากข้าวสีต่าง ๆ

Show simple item record

dc.contributor.author ชัชวิน เพชรเลิศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-10-16T03:02:07Z
dc.date.available 2019-10-16T03:02:07Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3713
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านลิพิดเปอร์ออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดเอทา นอลจากข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอหรือข้าวเหนียวดำในน้ำมันถั่วเหลือง ด้วยการทดสอบ thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) การกำจัดอนุมูล DPPH และความสามารถในการรีดิวซ์เหล็ก (FRAP assay) นอกจากนี้ยังทำการตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ปริมาณฟลาโว นอยด์รวม และปริมาณแอนโธไซยานิน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ข้าวก่ำดอยมูเซอมีปริมาณสารประกอบฟีนอล ปริมาณฟลาโวนอยด์และปริมาณแอนโธไซยานินสูงที่สุด (45.48±0.07 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิก ต่อกรัมของสารสกัด, 323.08±0.50 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของสารสกัด และ 1908.01±5.79 มิลลิกรัมของไซยานินดิน-3-กลูโคไซด์ต่อกรัมของสารสกัด ตามลำดับ) สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ข้าวก่ำดอยมูเซอมีฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH และมีความสามารถในการให้อิเล็กตรอนกับเหล็กได้ดี ที่สุด โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 0.23±0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า FRAP เท่ากับ 32.03±0.001 มิลลิกรัม สมมูลเฟอร์รัสซัลเฟต/กรัมของส่วนสกัด ตามลำดับ นอกจากนี้แล้วสารสกัดเอทานอลจากข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอที่ความเข้มข้นต่าง ๆ (0.001, 0.01, 0.1 และ 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) สามารถยับยั้งลิพิดเปอร์ออกซิเดชันได้ทั้งแบบที่เติมสารสกัดบ่มพร้อมกับน้ ามันตั้งแต่เริ่มทำปฏิกิริยา (48 ชั่วโมง) และเมื่อเติมสารสกัดลงในน้ำมันหลังจากทำปฏิกิริยา (48 ชั่วโมง) สำหรับการทดสอบ TBARS พบว่า เปอร์เซ็นต์การยับยั้งของข้าวกล้องหอมนิลที่ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมีถึง 67.79% สรุปว่าสาร สกัดเอทานอลจากข้าวกล้อง หอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอ สามารถยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ ออกซิเดชันในปฏิกิริยาขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิได้ และงานวิจัยนี้สามารถ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ใน อุตสาหกรรมอาหารได้ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เอทานอล th_TH
dc.subject การต้านอนุมูลอิสระ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
dc.title ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดเอทานอลจากข้าวสีต่าง ๆ th_TH
dc.title.alternative Antioxidant capacity and inhibitory effect on lipid peroxidation of different pigmented rice ethanol extracts en
dc.type Research
dc.author.email chatchaw@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562
dc.description.abstractalternative The inhibitory effects of lipid peroxidation and antioxidant activity of ethanolic extracts from Hom Nil brown rice, riceberry rice and black sticky rice or Kow Kum Doi Moo Seu (Oryza sativa L.) in soybean oil emulsion were investigated using thiobarbituric acid reactive substances (TBARS), DPPH and FRAP assays. Moreover, total phenolic, total flavonoid and anthocyanin contents were also determined. The results showed that black sticky rice had the highest total phenolic, total flavonoid and anthocyanin contents (45.48±0.07 mg gallic acid equivalent (GAE)/g extract, 323.08±0.50 mg quercetin equivalent (QE)/g extract and 1908.01±5.79 mg cyanidin-3-glucoside/g extract, respectively). For the antioxidant activity, DPPH radical scavenging activity and ferric reducing property were found strongly in ethanolic extract from black sticky rice (EC50 = 0.23±0.001 mg/ml and FRAP value = 32.03±0.001 mg FeSO4/g extract, respectively). In addition, ethanolic extracts from Hom Nil brown rice, riceberry rice and black sticky rice at various concentrations (0.001, 0.01, 0.1 and 1 mg/ml) could inhibit lipid peroxidation, either the extracts were incubated during the reaction (48 h) or added after the reaction. For TBARS assay, the %inhibition of Hom Nil brown rice at 0.1 mg/ml was 67.79%. In conclusion, ethanolic extracts from brown rice, riceberry rice and black sticky rice can inhibit the initiation and propagation step of lipid peroxidation. This research can be applied to food industries. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account