Abstract:
ในอดีตงานวิจัยต่าง ๆ ได้มีการศึกษาผลตอบสนองของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเนื่องจากแรง แผ่นดินไหวไว้มากมาย โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีวิเคราะห์แรงสถิตไม่เชิงเส้น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายกว่าวิธีประวัติเวลาไม่เชิงเส้น และงานวิจัยเหล่านี้ได้มี การศึกษาแบบจำลองชิ้นส่วนของโครงสร้างโดยพิจารณาความเสียหายเนื่องจากแรงดัด เป็นส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเมื่อถูกแรงแผ่นดินไหวมากระทำกับชิ้นส่วนของ อาคารอาจเกิดความเสียหายเนื่องจากแรงเฉือนด้วย ดังนั้นเพื่อให้ผลตอบสนองของอาคารที่เกิดจากแรงแผ่นดินไหวมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นงาน
วิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการเคลื่อนที่เป้าหมายที่จุดยอด สำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ปราศจากความเหนียว โดยพิจารณาความเสียหายเนื่อง
จากแรงดัดและแรงเฉือนเป็นหลัก อีกทั้งเพื่อให้พฤติกรรมของโครงสร้างอาคารสอดคล้องกับพฤติกรรม ของโครงสร้างภายใต้แรงแผ่นดินไหว จึงได้คำนึงถึงผลการเสื่อมถอยของสติฟเนส และการเสื่อมถอย ของกำลัง ด้วยงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีวิเคราะห์แรงสถิตไม่เชิงเส้นในรูปแบบแรงกระทำด้านข้างแบบแยก โหมดด้วยวิธีการผลกัอาคารแบบวัฏจักร โดยใช้ระบบขั้นเสรีเดียวเทียบเท่า ที่คำนึงถึงผลการเสื่อมถอย จากนั้นทำการเปรียบเทียบผลตอบสนองในรูปของอัตราส่วนที่ได้จากวิธีที่นำเสนอเปรียบเทียบ กับวิธีประวัติเวลาไม่เชิงเส้น อาคารที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นโครงข้อแข็งที่มีความสูง 3 6 9 และ 12 ชั้น ที่ใช้คลื่นแผ่นดินไหวจำนวน 20 คลื่น มากระทำกับโครงสร้างอาคาร จากผลการศึกษาพบว่าวิธีที่นำเสนอสามารถทำนายผลตอบสนองในรูปของค่าการเคลื่อนที่เป้าหมายที่จุดยอด ได้ใกล้เคียงกับ ผลตอบสนองที่วิเคราะห์ได้จากวิธีประวัติเวลาไม่เชิงเส้น เมื่อพิจารณาความเสียหายเนื่องจากแรงดัด และแรงเฉือนเขา้ไปแล้ว