dc.contributor.author |
จุฑามาศ แหนจอน |
|
dc.date.accessioned |
2019-10-01T04:05:55Z |
|
dc.date.available |
2019-10-01T04:05:55Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3678 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานโดยการเพ่งความสนใจ หรือ โปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติสำหรับนิสิต ปริญญาตรี และทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติ
การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีของการเสริมสร้างความจำใช้งานสำหรับนิสิตปริญญาตรี ระยะที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือวิจัย ระยะที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติสำหรับนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรีที่ลงทะเบียนในรายวิชาการศึกษาทั่วไปของภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 385 คน คัดเลือกเฉพาะนิสิตที่มีคะแนนความวิตกกังวลระดับปานกลาง คือ ตั้งแต่ 35 คะแนนขึ้นไป และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 52 คน สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากและจับคู่คะแนน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 26 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติ ซึ่งเป็นวิธีการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาความจำใช้งานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น บนหลักการพื้นฐานของการฝึกสติ การยอมรับและพันธะสัญญา และ การฝึกหัดการรู้คิด ตามแบบจำลองความจำใช้งาน จำนวน 8 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ร่วมกับการฝึกสติด้วยตนเอง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 15 นาที 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความจำ ใช้งานด้วยสติสำหรับนิสิตปริญญาตรี 3) 1-back task และ 2-back task 4) แบบทดสอบการเรียงลำดับตัวเลข และตัวอักษร 5) การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง และ 6) มาตรวัดสติ ตระหนักรู้ สนใจจดจ่อ: ฉบับภาษาไทย 7) แบบวัดความวิตกกังวล กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ 50 นาที รวม 8 ครั้ง และประเมินความพึงพอใจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียน การสอนปกติจากทางมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินความจำใช้งาน ความวิตกกังวลและสติ ก่อนทดลอง และหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 4 เป็นการเผยแพร่โปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติสำหรับนิสิตปริญญาตรี
ผลการวิจัย พบว่า
1. โปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติมีประสิทธิผลในการเสิรมสร้างความจำใช้งาน
ทั้งจากการทดสอบการเรียงลำดับตัวเลขและตัวอักษร และการทดสอบด้วย 1-back task และ 2–back
task อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมองเชิงปริมาณ พบว่า
นิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองมีค่าพาวเวอร์ของคลื่นเธต้าและคลื่นแอลฟ่าหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าพาวเวอร์ของคลื่นเบต้าหลังทดลองน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะทดสอบความจำใช้งาน
2. โปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติมีประสิทธิผลในการลดความวิตกกังวล และ
ลดความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. โปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติมีประสิทธิผลในการเพิ่มระดับสติ อย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานด้วยสติ
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.19) นิสิตปริญญาตรีสะท้อนคิดว่าโปรแกรมการเสริมสร้างความจำ
ใช้งานด้วยสติช่วยให้นิสิตปริญญาตรีได้รับรู้ถึงปัญหาความจำใช้งานของตนเอง การสร้างเป้าหมายและวิธีการเสริมสร้างความจำใช้ที่ชัดเจน กิจกรรมการฝึกความจำใช้งานมีความแปลกใหม่ สนุก ผ่อนคลายและได้ฝึกสติในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งในด้านการเรียนและการดำเนินชีวิตประจำวัน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
|
dc.title |
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานโดยการเพ่งความสนใจ สำหรับนิสิตปริญญาตรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
A development of mindfulness based working memory training program of undergraduate students |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
drhaenjohn@gmail.com |
th_TH |
dc.year |
2562 |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this developmental research were: to develop the mindfulness based working memory training program of undergraduate students (MBWM) and to study the effectiveness of the MBWM program.
The methodology consisted of four phases. Phase I was to establish the conceptual framework that included identifying the support theories of enhancing working memory in undergraduate students. Phase II was to develop the research instruments. Phase III was to study the effectiveness of the MBWM program. The sample consisted of 385 freshmen undergraduate students who registered in the general education courses of Department of Research and Applied Psychology in the second semester of the 2017 academic year at Burapha University. The sample was selected again by employed the moderate anxiety score (≥ 35 score), voluntary and willing to participate in the research project. The samples were assigned to the two groups by random assignment and matching into two groups: an experimental group and a control group, 26 students in each group. The instruments were 1) The MBWM program was the psychological training for promoting working memory. The MBWM program was designed by the researcher based on mindfulness, acceptance and commitment therapy, and cognitive training in working memory model. It composed of 8 sessions; each session lasted for 50 minutes. 2) The satisfaction questionnaire with the MBWM program, 3) 1-back task and 2-back task, 4)The letter number sequencing (LNS) test, 5) Electroencephalography (EEG) and 6) the mindful awareness attention scale: Thai version, The State-Trait Anxiety Inventory. The assessments were done in 2 phases: pre-test and posttest. The data were analyzed by multivariate analysis of variance (MANOVA), t-test and content analysis. Phase IV was to publish the research results. |
en |
dc.keyword |
การยอมรับและพันธะสัญญา |
th_TH |
dc.keyword |
โปรแกรมเสริมสร้างความจาใช้งาน |
th_TH |
dc.keyword |
สติ |
th_TH |