DSpace Repository

การศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของแคสำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์

Show simple item record

dc.contributor.author อนันต์ อธิพรชัย
dc.contributor.author วรางคณา จุ้งลก
dc.contributor.author สุวรรณา เสมศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ en
dc.date.accessioned 2019-09-30T08:55:29Z
dc.date.available 2019-09-30T08:55:29Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3677
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของแค (Sesbania grandiflora) ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ ถั่ว (Leguminosae) สำหรับช่วยในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ เมื่อนำส่วนที่รับประทานได้และนิยมรับประทานคือ ส่วนดอกและยอดอ่อน มาทำการสกัดด้วยวิธีการแช่หมักด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ตามลำดับความมีขั้วคือเฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเมทานอล พบว่ายอดอ่อนแค (Shoot) มีร้อยละผลผลิตรวมสูงที่สุดเท่ากับ 85.31% รองลงมา คือกลีบดอก (82.14%), ฐานรองดอก (76.12%) และเกสร (72.32%) ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดที่ได้พบว่าปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุดนั้นเป็นสารสกัดหยาบที่มาจากส่วนของดอก สารประกอบฟีนอลิกที่พบในส่วนสกัดหยาบของดอกและยอดอ่อนแคนั้นเป็นสารประกอบฟีนอลิกที่มีขั้วปานกลาง ถึงสูง นอกจากนี้ได้ทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่าง ๆ คือฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสของส่วนสกัดที่ได้ พบว่า ส่วนสกัดหยาบของแคสามารถช่วยในการบรรเทา พยาธิวิทยาของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ได้ โดยสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ ยับยั้งภาวะการอักเสบ และยับยั้งเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายสารสื่อประสาทนั่นคือเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งส่วนสกัด หยาบของแคทุกส่วนสกัดนั้นไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์อีกด้วย ดังนั้นการบริโภคแคอาจจะช่วยบรรเทาและ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญและพบมากในผู้สูงอายุได้ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title การศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของแคสำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์ th_TH
dc.title.alternative Chemical investigation and biological activities of Sesbania grandiflora for the treatments of Alzheimer's disease en
dc.type Research
dc.author.email anana@buu.ac.th th_TH
dc.author.email cwarang@wu.ac.th th_TH
dc.author.email ssemsri@yahoo.com th_TH
dc.year 2562
dc.description.abstractalternative Phytochemical and biological activities for the treatment of Alzheimer’s disease of Sesbania grandiflora, a member of the Leguminosae family were studied. Edible parts of this plant including flower and shoot were successfully extracted with hexane, ethyl acetate and methanol, respectively. The shoot extracts showed the highest of extraction yield percentage (85.31%), followed the petal (82.14%), sepal (76.12%) and stamen (72.32%) extracts. The total penolic content of the extracts were evaluated and it was found that the flower extracts showed the highest total penolic contents. In addition, all extracts were evaluated with antioxidant, anti-inflammatory and antiacetylcholinesterase activities together with cytotoxicity. The extracts from S. grandiflora showed strong inhibitory activities for the treatment of Alzheimer’s disease. Moreover, these extracts showed no cytotoxicity with the normal cells. Therefore, the edible parts of S. grandiflora may have dietary and medicinal applications for the treatment of Alzheimer’s disease. th_TH
dc.keyword โรคอัลไซเมอร์ th_TH
dc.keyword แค th_TH
dc.keyword พยาธิวิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account