DSpace Repository

การทำลายฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะในน้ำเสียจากผลิตยาของอุตสาหกรรมอาหารและยา โดยการประยุกใช้เทคโนโลยีแอดวานซ์ออกซิเดชั่น เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Show simple item record

dc.contributor.author อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-07-13T09:27:25Z
dc.date.available 2019-07-13T09:27:25Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3616
dc.description.abstract การปล่อยยาปฏิชีวนะไปสู่สิ่งแวดล้อมอาจนำไปสู่การเสียสมดุลอย่างรุนแรง ของระบบนิเวศ หนึ่งในเทคโนโลยีแบบใหม่สำหรับการบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ ได้แก่ การประยุกต์ใช้กระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสาธิตการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร่วมกับการใช้ อุณหภูมิสูงที่ระดับต่าง ๆ ในการยับยั้งฤทธิ์ของยาปฎิชีวนะ 3 ชนิด ได้แก่ ceftazidime, ceftriazone, และ cefphalexin ในระบบน้ำเสียจำลอง โดยทำการทดสอบกระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูงที่ความเข้มข้นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ร้อยละ 1 ถึง 5 โดยปริมาตร และที่ระดับอุณหภูมิ 60 ถึง 150 องศาเซลเซียส ที่เวลาต่าง ๆ ทั้งนี้เลือกใช้ความสามารถในการเจริญของเชื้อ อี.โคไล เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของกระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูง โดยศึกษาความเข้มข้น ของยาปฎิชีวนะในระบบน้ำเสียจำลองที่ระดับแตกต่างกันตั้ง แต่ 60 ถึง 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการออกซิเด ชั่นขั้นสูงในการยับยั้งฤทธิ์ของยาปฎิชีวนะสามารถทำได้โดยการเพิ่มความเข้มข้น ของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ อุณหภูมิ และเวลาในการบำบัด สำหรับสภาวะการ บำบัดที่เหมาะสมพิจารณาจากการเจริญของ อี.โคไล สูงสุดในตัวอย่างที่ผ่านกระบวนการบำบัด โดยเมื่อบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้น ของยาปฏิชีวนะเท่ากับ 60 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที พบว่า อี.โคไล สามารถเจริญและเพิ่มจำนวนจากความเข้มข้นเริ่มต้น 4.61±0.01 เป็ น 5.25±0.04 log CFU ต่อมิลลิลิตร ในทางกลับกัน พบว่าการบำบัดที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 นาที ที่ความเข้มข้น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เดียวกันสามารถทำลายฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะลงได้ทั้งหมด แม้จะมีความเข้มข้น เริ่มต้น สูงถึง 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรก็ตาม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิธีการขจัด ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหลืออยู่ในตัวอย่างหลังการบำบัด ด้วยกระบวนการออกซิเดชั่นขั้น สูงโดยทดลองใช้ยีสต์ผงในการออกซิไดซ์ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในระบบน้ำเสียจำลองทั้งนี้พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างปริมาณยีสต์ต่อปริมาตรน้ำเสีย ที่ผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูงแล้ว คือ อัตราส่วน 1 ต่อ 50 และใช้เวลาในการบ่มเป็นเวลา 30 นาที th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กระบวนการออกซิเดชั่น th_TH
dc.subject ยาปฎิชีวนะ th_TH
dc.subject อีโคไล th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมอาหารและยา th_TH
dc.subject ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การทำลายฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะในน้ำเสียจากผลิตยาของอุตสาหกรรมอาหารและยา โดยการประยุกใช้เทคโนโลยีแอดวานซ์ออกซิเดชั่น เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม th_TH
dc.title.alternative Removal of antibiotic contaminants in pharmaceutical wastewater using advanced oxidation processes to minimize environmental impacts en
dc.type Research en
dc.author.email aluck@eng.buu.ac.th
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The release of trace pharmaceutical antibiotics into the environment can cause a major upset of an ecological balance. One of the promising technologies for treating antibiotic wastewater is the application of advanced oxidation processes (AOPs). This research was to demonstrate the use of hydrogen peroxide (H2O2) coupled with different degrees of high-temperature treatment to inactivate the activity of three antibiotics (ceftazidime, ceftriazone, and cefphalexin) in a formulated synthetic antibiotic wastewater. H 2O2 concentration (1-5% v/v) and temperature levels (60-150ºC) were investigated during AOPs. The survival of E. coli was used as an indicator to study the efficacy of the proposed AOP treatments. The concentration of synthetic antibiotic wastewater was varied from 60 to 600 μg/mL. The effectiveness of AOPs on antibiotic inactivation was enhanced by increasing the H2O2 concentration, temperature, and contact time. The optimal H2O2 condition was determined based on the highest growth of E. coli or no remaining antibiotic activity in the treated samples. At 60 μg/mL of the antibiotics concentration, E. coli was able to actively multiply from the initial cell concentration of 4.61±0.01 to 5.25±0.04 log CFU/mL when the antibiotic contaminated wastewater was treated with 5% H 2O2 at 100ºC for 120 min. However, using pressurized condition at 140ºC for 1 min, the same H2O2 concentration was able to completely cancel all antibiotic activity at an initial concentration of up to 600 μg/mL. To remove H2O2 residue in the treated samples after AOP treatment, dry baker’s yeast was used to neutralize H 2O2. The optimal ratio of the yeast to the volume of AOP treated sample was 1:50 and the incubation time was 30 min en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account