Abstract:
การปล่อยยาปฏิชีวนะไปสู่สิ่งแวดล้อมอาจนำไปสู่การเสียสมดุลอย่างรุนแรง
ของระบบนิเวศ หนึ่งในเทคโนโลยีแบบใหม่สำหรับการบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ ได้แก่ การประยุกต์ใช้กระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสาธิตการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร่วมกับการใช้
อุณหภูมิสูงที่ระดับต่าง ๆ ในการยับยั้งฤทธิ์ของยาปฎิชีวนะ 3 ชนิด ได้แก่ ceftazidime, ceftriazone, และ cefphalexin ในระบบน้ำเสียจำลอง โดยทำการทดสอบกระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูงที่ความเข้มข้นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ร้อยละ 1 ถึง 5 โดยปริมาตร และที่ระดับอุณหภูมิ 60 ถึง 150 องศาเซลเซียส ที่เวลาต่าง ๆ ทั้งนี้เลือกใช้ความสามารถในการเจริญของเชื้อ อี.โคไล เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของกระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูง โดยศึกษาความเข้มข้น ของยาปฎิชีวนะในระบบน้ำเสียจำลองที่ระดับแตกต่างกันตั้ง แต่ 60 ถึง 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการออกซิเด
ชั่นขั้นสูงในการยับยั้งฤทธิ์ของยาปฎิชีวนะสามารถทำได้โดยการเพิ่มความเข้มข้น
ของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ อุณหภูมิ และเวลาในการบำบัด สำหรับสภาวะการ
บำบัดที่เหมาะสมพิจารณาจากการเจริญของ อี.โคไล สูงสุดในตัวอย่างที่ผ่านกระบวนการบำบัด โดยเมื่อบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้น ของยาปฏิชีวนะเท่ากับ 60 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที พบว่า อี.โคไล สามารถเจริญและเพิ่มจำนวนจากความเข้มข้นเริ่มต้น 4.61±0.01 เป็ น 5.25±0.04 log CFU ต่อมิลลิลิตร ในทางกลับกัน พบว่าการบำบัดที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 นาที ที่ความเข้มข้น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เดียวกันสามารถทำลายฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะลงได้ทั้งหมด แม้จะมีความเข้มข้น เริ่มต้น สูงถึง 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรก็ตาม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิธีการขจัด ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหลืออยู่ในตัวอย่างหลังการบำบัด ด้วยกระบวนการออกซิเดชั่นขั้น
สูงโดยทดลองใช้ยีสต์ผงในการออกซิไดซ์ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในระบบน้ำเสียจำลองทั้งนี้พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างปริมาณยีสต์ต่อปริมาตรน้ำเสีย
ที่ผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการออกซิเดชั่นขั้นสูงแล้ว คือ อัตราส่วน 1 ต่อ 50 และใช้เวลาในการบ่มเป็นเวลา 30 นาที