dc.contributor.author |
พัทรพงษ์ อาสนจินดา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-05-02T12:42:36Z |
|
dc.date.available |
2019-05-02T12:42:36Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3540 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับที่มีผลต่อบุคคลบริเวณสถานีชำระค่าผ่านทาง โดยทำการตรวจวัดขนาดและความถี่ของความเร่งการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปวิเคราะห์ระดับการรับรู้ที่มีต่อบุคคลซึ่งปฏิบัติงานบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง และนำไปเปรียบเทียบและนำเสนอเกณฑ์ระดับการรับรู้ต่อไปการศึกษาได้ทำการทดสอบ ณ ทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถี ด่านชลบุรี โดยตรวจวัดความเร่งการสั่นสะเทือนในช่องบริการสำหรับยานพาหนะ ช่องบริการสำหรับยานพาหนะ 4 ล้อ แบบปกติและแบบ Easy Pass โดยติดตั้งหัววัดความเร่งเพื่อวัดค่าการสั่นสะเทือนที่ผิวจราจรและเกาะคอนกรีตซึ่งติดตั้งตู้เก็บค่าผ่านทาง และได้ทำการสัมภาษณ์ระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อบุคคล จากนั้นจึงได้นำข้อมูลการตรวจวัดและ การสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ระดับการสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อระดับการรับรู้ของบุคคล ตามปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ช่วงเวลาและปริมาณยานพาหนะ ประเภทยานพาหนะ ตำแหน่งของตู้เก็บค่าผ่านทาง และประเภทช่องบริการจากผลการศึกษาพบว่า ช่วงเวลาและปริมาณยานพาหนะมีผลต่อระดับ การรับรู้อย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วงเวลาที่มีปริมาณยานพาหนะน้อยจะมีค่าระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนที่สูงกว่า เนื่องจากผลของการเบรกยานพาหนะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขณะเข้าด่านเก็บค่าผ่านทาง และพบว่ายานพาหนะที่มีน้ำหนักมากจะส่งผลให้ขนาดความเร่งการสั่นสะเทือนมีค่าเพิ่มขึ้น การติดตั้งตู้เก็บค่าผ่านทางบนเกาะคอนกรีตสามารถลดระดับการสั่นสะเทือนลงได้อย่างชัดเจนถึงประมาณร้อย ละ 19 การสั่นสะเทือนของช่องบริการแบบ Easy Pass จะมีระดับการรับรู้ที่ต่ำกว่าช่องบริการแบบ ปกติเนื่องจากไม่มีการหยุดรถ และงานวิจัยนี้ได้นำเสนอเกณฑ์ระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนของทาง พิเศษยกระดับ ซึ่งสามารถแบ่งระดับการรับรู้ได้ 3 ระดับ ได้แก่ ไม่รู้สึก (imperceptible) รู้สึกได้บ้าง (barely perceptible) รู้สึกได้อย่างชัดเจน (distinctly perceptible) โดยมีขนาดการสั่นสะเทือนอยู่ ในช่วงระหว่าง 0.001g - 0.030g และมีค่าความถี่การสั่นสะเทือนอยู่ในช่วง 2 – 20 Hz |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ทางด่วน -- การสั่นสะเทือน |
th_TH |
dc.subject |
ทางหลวงที่เก็บค่าผ่านทาง |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.title |
การประเมินผลกระทบการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับที่มีต่อผู้ปฏิบัติงาน ณ ด่านเก็บค่าผ่านทาง |
th_TH |
dc.title.alternative |
Assessment on effect of elevated expressway structural vibration to toll station officers |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
pattarapong@eng.buu.ac.th |
|
dc.year |
2559 |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study on effect of elevated expressway vibration to personal perceptibility at toll station. The amplitude and frequency of vibration were measured to analyze the level of personal vibration perceptibility for those who work at toll station. The vibration perceptibility standard was compared and proposed in this study. The experimental study was carried out at Buraphawithi elevated expressway - Chonburi station. The measurement was conducted at different pay toll lanes including heavy vehicle lane, regular lane for 4-wheel vehicle and Easy Pass lane for 4-wheel vehicle. The acceleration transducers were installed at both the pavement and the concrete isle right next to the toll booths. The level of personal vibration perceptibility was collected from the interview. The perceptibility level was analyzed by consideration of relevant factors i.e. time period and amount of vehicle travels, vehicle type, location of toll booth and type of service lanes. Regarding to the results of study, it was found that time period and amount of vehicle travels significantly affect to perceptibility level. Time period having fewer vehicles provided higher level of perceptibility due to braking effect of higher speed vehicle approaching to the toll station. Moreover, it was observed that heavier vehicle induced larger amplitude of vibration acceleration. Placing the toll booth on concrete isle could apparently reduce the vibration level up to 19% approximately. Vibration of Easy Pass lane was found to be lower than regular lane because of no pausing car. Finally, the standard of personal vibration perceptibility for elevated expressway was proposed in this research. The level of perceptibility could be categorized into 3 levels i.e. imperceptible, barely perceptible and distinctly perceptible where the amplitude and the frequency of vibrations were in the range of 0.001g-0.030g and 2-20 Hz, respectively |
en |