Abstract:
สังคมผู้สูงอายุเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับนานาประเทศรวมท้ังประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทยระหว่างปี พ.ศ. 25444-2556 เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากรต่ออัตราการออมของครัวเรือนไทย ข้อมูลพาแนลสังเคราะห์ตามรุ่นเกิดถูกสร้างจากข้อมูลการสํารวจครัวเรือนแบบตัดขวางในหลายช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกันโดยอาศัยกรอบแนวคิดสมมติฐานแบบวงจรชีวิต การวิเคราะห์สมการถดถอยใช้เพื่อประเมินผลเชิงปริมาณของอายุ รุ่นเกิด และช่วงเวลาต่ออัตราการออมครัวเรือน ผลการประมาณค่า พบว่า รุ่นเกิดของหัวหน้าครัวเรือนมีส่วนสําคัญในการกําหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือน ความสัมพันธ์ของอายุกับการออมใกล้เคียงกับสมมติฐานวงจรชีวิต อย่างไรก็ตาม การออมของครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนอยู่ในช่วงอายุ 30-45 ปี แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงและอัตราการออมของหัวหน้าครัวเรือนที่เกษียณอายุกลับลดลงเพียงเล็กน้อย อัตราการออมเพิ่มขึ้นทุกรุ่นเกิด ครัวเรือนรุ่นใหม่มีแนวโน้มจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายครัวเรือนในสัดส่วนที่สูงให้กับการศึกษา สุขภาพ และการประกัน ปัจจัยด้านประชากรช่วยอธิบายแบบแผนการออมของครัวเรือน ขนาดครัวเรือนและจํานวนผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอัตราการออมของครัวเรือน ในขณะที่จํานวนเด็กทําให้ครัวเรือนมีอัตราการออมลดลง โดยภาพรวม ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้สนับสนุนความเชื่อทั่วไปที่ว่า การเป็นสังคมผู้สูงอายุส่งผลกระทบในทางลบต่อการออมของครัวเรือน คําอธิบายที่เป็นไปได้ต่ออัตราการออมของครัวเรือนไทยที่เพิ่มขึ้นอาจมากจากการออมเพื่อยามฉุกเฉินและแรงจูงใจในการสร้างมรดกให้ลูกหลานในบริบทที่ระบบการเงินและระบบบํานาญของประเทศไทยยังมีช่องว่างสําหรับการปรับปรุงให้ดีขึ้น