DSpace Repository

ผลของสภาวะโลกร้อนต่ออุบัติการณ์ของแบคทีเรียก่อโรคที่สำคัญและคุณสมบัติทางการดื้อยาหลายขนานจากชายหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.author ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-18T02:48:16Z
dc.date.available 2019-04-18T02:48:16Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3509
dc.description.abstract ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทําการศึกษาถึงผลของสภาวะโลกร้อนต่ออุบัติการณ์ของแบคทีเรียก่อโรค ที่สําคัญและคุณสมบัติทางการดื้อยาหลายขนานจากชายหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี การศึกษาได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ที่ทําการศึกษาถึงยีนความรุนแรงในการก่อโรค ได่แก่ กลุ่มยีนดื้อยา sul1, cmlA, cat1, sul1/dhfrV, CITM และ tetA ซึ่งเป็นยีนดื้อต่อยา Sulfonamide, Chloramphenicol, Trimethoprim-sulfamethoxazole, Ampicillin และ Tetracycline ใน E. coliและ K. pneumoniae ผลการศึกษาตรวจพบ E. coli จํานวน 90 สายพันธุ์ ที่มียีนก่อโรคกลุ่มดื้อยา Sulfonamide (ยีน sul1) 6.66%, ยีนดื้อยา Chloramphenicol (ยีน cmlA และ cat1) 7.78%, ยีนดื้อยา Trimethoprim-sulfamethoxazole (ยีน sul1/dhfrV) 1.11%, ยีนดื้อยา Ampicillin (ยีน CITM) 16.66% แต่ไม่พบยีนก่อโรคในกลุ่ม AmpC (ยีน blaCMY-1 และ blaCMY-2) และ Tetracycline (ยีน tetA) ส่วนการตรวจหายีนความรุนแรงในการก่อโรคใน K. pneumoniae จํานวน 56 สายพันธุ์ ตรวจพบยีนดื้อยา Sulfonamide (ยีน sul1) 12.50%, ยีนดื้อยา Chloramphenicol (ยีน cmlA และ cat1) 10.71%, ยีนดื้อยา Trimethoprimsulfamethoxazole (ยีน sul1/dhfrV) 12.50%, ยีนดื้อยา Ampicillin (ยีน CITM) 19.64% แต่ไม่พบยีนก่อโรคกลุ่ม AmpC (ยีน blaCMY-1 และ blaCMY-2 ) และ Tetracycline (ยีน tetA) ส่วนที่ 2 ได้แก่ การศึกษาถึงสายพันธุ์ O111 และ O26 ของ E. coli ผลการศึกษาพบว่า E. coli ทั้งหมด 90 สายพันธุ์ไม่ใช่สายพันธุ์ O111 และ O26 และส่วนที่ 3 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดื้อยา การผลิตเอนไซม์เบต้า-แลคตาเมส และการพบยีนดื้อยา ผลการทดลองพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดื้อยา การผลิตเอนไซม์เบต้า-แลคตาเมส และการพบยีนดื้อยาของ E. coli ที่แยกได้จากดินตะกอนและน้ำทะเลบริเวณบางแสนและพัทยา จ.ชลบุรี มีความสัมพันธ์ต่ำ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดื้อยา การผลิตเอนไซม์เบต้า-แลคตาเมส และการพบยีนดื้อยาของK. pneumoniae ที่แยกได้จากดินตะกอนและน้ําทะเลบริเวณบางแสนและพัทยา จ.ชลบุรี พบว่ามีความสัมพันธืกันสูง จึงทําให้เกิดความน่าสนใจที่จะทําการศึกษาต่อเนื่องถึงเหตุผลดังกล่าวเพื่อทําให้สามารถควบคุมและคาดการณ์การเกิดโรคระบาดรวมทั้งการรักษาได้อย่างถูกต้องของ E. coli และ K. pneumoniae โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ทําการศึกษา เพื่อจะทําให้ลดค่าใช้จ่ายที่มีผลกระทบทางด้านสาธารณสุข ทางการท่องเที่ยวและทางด้านสังคมเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากมายมหาศาลนั่นเอง th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject แบคทีเรียทะเล -- ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน th_TH
dc.subject การดื้อยา th_TH
dc.subject โรคเกิดจากแบคทีเรีย th_TH
dc.subject การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ผลของสภาวะโลกร้อนต่ออุบัติการณ์ของแบคทีเรียก่อโรคที่สำคัญและคุณสมบัติทางการดื้อยาหลายขนานจากชายหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Effect of global warming on the occurrence of important pathogenic bacteria and multi-drug resistance properties of bacteria in Bangsaen and Pattaya beaches, Chon Buri Province en
dc.type Research
dc.author.email subunti@buu.ac.th
dc.author.email verapong@buu.ac.th
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative In this study, the effect of global warming on the occurrence of important pathogenic bacteria and multi-drug resistance properties of bacteria in Bangsaen and Pattaya beaches, Chon Buri Province were investigated. The experiment was divided into 3 parts. In the first phase, antibiotic resistant genes; sul1, cmlA, cat1, sul1/dhfrV, CITM and tetA which resisted to Sulfonamide, Chloramphenicol, Trimethoprimsulfamethoxazole, Ampicillin and Tetracycline, respectively, in E. coli and K. pneumoniae were monitored. Results demonstrated that 90 strains of E. coli consisted of antibiotic resistant genes for Sulfonamide (sul1, 6.66%), Chloramphenicol (cmlA and cat1, 7.78%), Trimethoprim-sulfamethoxazole (sul1/dhfrV, 1.11%), Ampicillin (CITM, 16.66%). However, AmpC genes (blaCMY-1 and blaCMY-2 genes) and tetA gene were not found in tested E. coli. While antibiotic resistant genes in K. pneumoniae for Sulfonamide (sul1, 12.50%), Chloramphenicol (cmlA and cat1, 10.71%), Trimethoprim-sulfamethoxazole (sul1/dhfrV, 12.50%), Ampicillin (CITM, 19.64%). AmpC (blaCMY-1 และ blaCMY-2 genes) and Tetracycline (tetA gene) were not monitored in the tested K. pneumoniae. In the second part, the occurrence of E. coli strains O111 and O26 in this study was determined. Results showed that all of 90 tested E. coli strains were not strain O111 and O26. In the third part, the relationship among antibiogram, beta-lactamase production and occurrence of resistant genes was investigated. Results showed that those relationships in E. coli isolated from sediment and seawater at Bangsaen and Pattaya beaches, Chon Buri Province was rather low. In contrast, those relationships in K. pneumoniae from sediment and seawater at Bangsaen and Pattaya beaches, Chon Buri Province was high. This information provided the requirement for the further study in order to control, forecast and treatment the disease outbreak caused by E. coli and K. pneumoniae, particularly in the studied areas. This knowledge could greatly reduce the expenses in terms of public health, tourism, society and economic in Thailand en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account