DSpace Repository

การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาไนเพื่อการจัดตั้งธนาคารน้ำเชื้อ

Show simple item record

dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-10T01:52:42Z
dc.date.available 2019-04-10T01:52:42Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3498
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาไนเพื่อการจัดตั้งธนาคารน้ำเชื้อ ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์ม ผลของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม ผลของอัตราการลดอุณหภูมิและอุณหภูมิสุดท้ายที่มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มที่แช่แข็งด้วยเครื่องลดอุณหภูมิอัตโนมัติ การแช่แข็ง น้ำเชื้อด้วยการใช้ไอไนโตรเจนเหลวในกล่องโฟม การพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำ เชื้อปลาไนปริมาณมาก รวมทั้งศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาไนแช่แข็งที่มีคุณภาพสเปิร์มหลังการละลาย และความสามารถของน้ำเชื้อปลาไนแช่แข็งในการปฏิสนธิกับไข่ พบว่าคุณภาพสเปิร์มของน้ำเชื้อสดมีการ เปลี่ยนแปลงในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ โดยความหนาแน่นของสเปิร์มมีค่าสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูผสมพันธุ์วางไข่ สารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีความเป็นพิษต่ำต่อสเปิร์มปลาไน ได้แก่ dimethylsulfoxide (DMSO), ethylene glycol, propylene glycol, sucrose, ethanol และ methanol น้ำเชื้อปลาไนที่ เจือจางด้วย 10% DMSO เมื่อแช่แข็งด้วยการใช้เครื่องมือแช่แข็งน้ำเชื้ออัตโนมัติ หรือแช่แข็งด้วยการใช้ไอไนโตรเจนเหลวภายในกล่องโฟม ต่างก็ให้ผลการเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายมีค่าสูงใกล้เคียงกับน้ำเชื้อสด โดยการแช่แข็งน้ำชื้อด้วยเครื่องมือแช่แข็งน้ำเชื้ออัตโนมัติต้องลดอุณหภูมิมาให้ถึงอุณหภูมิ สุดท้าย -80 องศาเซลเซียสก่อนนำน้ำเชื้อแช่แข็งไปเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาไนในปริมาณที่มากขึ้นในหลอด Cryotube มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกับการแช่แข็งด้วยหลอดฟาง โดย น้ำเชื้อปลาไนแช่แข็งที่ได้จัดเก็บไว้ในถังไนโตรเจนเหลวในลักษณะธนาคารน้ำน้ำเชื้อนาน 240 วันยังคงมีคุณภาพสเปิร์มหลังการละลายอยู่ในเกณฑ์ที่ดี การศึกษาความสามารถในการปฏิสนธิไข่ปลาไนด้วยน้ำเชื้อปลาไนแช่แข็งในชุดการทดลองต่าง ๆ พบว่าน้ำเชื้อปลาไนที่แช่แข็งด้วยหลอดฟางและหลอด Cryotube หลังการละลายสามารถปฏิสนธิไข่ปลาไนได้ค่าเฉลี่ย 35.2-63.4% ซึ่งมีค่าต่ำกว่าน้ำเชื้อสด (69.3-75.1%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาไนเพื่อการจัดตั้งธนาคารน้ำเชื้อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสายพันธุ์ปลาที่ดีเพื่อประโยชน์การเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ สัตว์น้ำ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปลา -- การผสมเทียม th_TH
dc.subject ปลาน้ำจืด -- น้ำเชื้อ -- การเก็บและรักษา th_TH
dc.subject ปลาไน -- น้ำเชื้อ -- การเก็บและรักษา th_TH
dc.subject อสุจิแช่แข็ง th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาไนเพื่อการจัดตั้งธนาคารน้ำเชื้อ th_TH
dc.title.alternative Sperm cryopreservation of common carp (Cyprinus carpio) for setting up of sperm bank en
dc.type Research th_TH
dc.author.email verapong@buu.ac.th th_TH
dc.author.email subunti@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The present research project focused on setting up of sperm bank in common carp (Cyprinus carpio). Studies were investigated in various aspects including the changes in sperm quality, effects of cryoprotectants on sperm motility, effects of cooling rates and final temperature on post-thawed sperm motility using the programmable freezer, sperm cryopreservation by liquid nitrogen vapor in styrofoam box, development of sperm cryopreservation techniques at large scale, effects of cryostorage on post-thawed sperm quality and fertilization capacity of cryopreserved sperm. Results showed that sperm quality of fresh semen changed during the spawning season with increased sperm concentration at the end of the spawning season. DMSO, ethylene glycol, propylene glycol, sucrose, ethanol and methanol elicited low toxicity on sperm motility. Extended semen diluted with 10% DMSO frozen with either controlled-rate programmable freezer or liquid nitrogen vapor had high post-thawed sperm motility, comparable with fresh semen. Sperm frozen with controlled-rate programmable freezer is required to reach to a final temperature of -80C prior to plunging into liquid nitrogen. Cryopreservation of C. carpio sperm at large scale in the cryotubes showed a comparable efficiency with that of French straw. Cryopreserved sperm stored in liquid nitrogen tank for 240 days had good post-thawed sperm quality. Fertilization studies from various treatments demonstrated that post-thawed sperm frozen in the straws or cryotubes were able to fertilize eggs with average fertilization rates of between 35.2-63.4%, significantly lower (P<0.05) than those of fresh sperm (69.3-75.1%). Cryopreservation of common carp sperm as a sperm bank is useful for fish strain management for the benefits of aquaculture and conservation en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account