DSpace Repository

การตอบสนองด้านการเติบโต สรีรวิทยาและชีวเคมีต่อการชักนำของไคโทซานในต้นกล้าข้าวภายใต้ภาวะปกติและภาวะเครียดจากความแล้ง

Show simple item record

dc.contributor.author วาสินี พงษ์ประยูร
dc.contributor.author อติกร ปัญญา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-09T02:47:08Z
dc.date.available 2019-04-09T02:47:08Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3494
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาหาระดับความเข้มข้นของไคโทซาน ที่มีค่าเปอร์เซ็นต์ การกำจัดหมู่อะซิทิลเท่ากับ 80 (O80) ในการชักนำการเติบโตของข้าวและเพื่อศึกษาการตอบสนองทางด้านสรีรวิทยาและชีวเคมีของข้าวเมื่อได้รับไคโทซานในภาวะปกติและภาวะแล้ง โดยเพาะเลี้ยงต้นกล้าข้าวในสารละลายธาตุอาหารสูตรดัดแปลง WP No.2 ในภาวะปกติ (ก่อนภาวะแล้ง) และให้ความแล้งด้วยสารโพลีเอทธีลีนไกลคอล 4000 (PEG4000) ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับสารละลายธาตุอาหารสูตรดัดแปลง WP แช่เมล็ดข้าว10 พันธุ์ ได้แก่ กข31 กข41 กข43 กข45 กข49 ขาวดอกมะลิ 105 เหลืองประทิว 123 ปทุมธานี 1 ไรซ์เบอร์รี่และสุพรรณบุรี 1 และฉีดพ่นที่ใบด้วยไคโทซาน O80 ที่ความเข้มข้น 0, 10, 20, 40 พีพีเอ็มหรือ กรดอะซิติก จำนวน 2 ครั้ง เก็บผลการทดลองหลังจากที่ข้าวได้รับไคโทซาน O80 ในภาวะปกติเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (WP7 และ WP14) ภาวะแล้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ (D7) จากการวิเคราะห์ ทางสถิติพบว่ามีอิทธิพลร่วมกันของพันธุ์ข้าวและทรีทเม้นส์ของค่าน้ำหนักสดต้น (shoot fresh weight; SFW) น้ำหนักสดราก (root fresh weight; RFW) น้ำหนักแห้งต้น (shoot dry weight; SDW) และน้ำหนักแห้งราก (root dry weight; RDW) ในภาวะปกติที่ 14 วัน ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เมื่อได้รับไคโทซาน O80 ความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม มีค่า SFW, RFW, SDW และ RDW สูงที่สุดเท่ากับ 2.4, 2.3, 3.0 และ 3.8 เท่า ตามลำดับ รองลงมาคือข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีค่า SFW, RFW, SDW และ RDW เป็น 2.2, 1.3, 2.2 และ 2.2 เท่า ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม นอกจากนี้ข้าวพันธุ์ กข41 เมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม ชักนำการเพิ่มขึ้นของปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บีมากที่สุดเป็น 1.3 และ 1.2 เท่า ตามลำดับ ส่วนภายใต้ภาวะแล้งที่ 7 วัน ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีค่า SFW, RFW, SDW และ RDW เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับไคโทซานที่ความเข้มข้น 10 หรือ 40 พีพีเอ็ม โดยเฉพาะการให้ไคโทซานความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม สามารถชักนำการเพิ่มขึ้นของ SFW, RFW, SDW, RDW คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บีที่ 1.4, 1.6, 1.5, 2.3, 2.0 และ 1.7 ตามลำดับ ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ มีปริมาณ H2O2 เพิ่มมากขึ้นทั้งในภาวะปกติและภาวะแล้ง โดยในภาวะปกติ มีปริมาณ H2O2 สูงที่สุดที่ 10 µmol/gFW หรือ 2.5 เท่า เมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม และในภาวะแล้ง มีปริมาณ H2O2 สูงที่สุดที่ 9 µmol/gFW หรือ 1.8 เท่า เมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม ข้าวพันธุ์ กข49 มีการตอบสนองต่อไคโทซานความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม ทั้งในภาวะปกติและภาวะแล้งโดยเฉพาะในภาวะแล้ง พบปริมาณกรดแอสคอร์บิกมากที่สุด ที่ 40 µmol/gFW หรือ 1.8 เท่า จากผลการทดลอง ชี้ให้เห็นว่า ข้าวแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองต่อระดับความเข้มข้นไคโทซานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีการตอบสนองด้านการเติบโตและปริมาณรงควัตถุเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับไคโทซานความเข้มข้น 40 พีพีเอ็มในภาวะปกติและไคโทซานความเข้มข้น 10 พีพีเอ็มในภาวะแล้ง ส่วนข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ มีการตอบสนองต่อไคโทซานความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม โดยมีปริมาณ H2O2 และกรดแอสคอร์บิกเพิ่มมากขึ้นในภาวะปกติและภาวะแล้ง ตามลำดับ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สรีรวิทยา th_TH
dc.subject ข้าว th_TH
dc.subject ไคโตแซน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การตอบสนองด้านการเติบโต สรีรวิทยาและชีวเคมีต่อการชักนำของไคโทซานในต้นกล้าข้าวภายใต้ภาวะปกติและภาวะเครียดจากความแล้ง th_TH
dc.title.alternative Growth, physiological and biochemical responses to chitosan in rice (Oryza sativa L.) seedlings under normal and drought stress th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email wasinee@buu.ac.th th_TH
dc.author.email atikorn.pan@biotec.or.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The objectives of this research was to determine the concentration levels of oligomeric chitosan with 80% degree of deacetylation (O80) to induce plant growth parameters in rice and to investigate the physiological and biochemical responded to chitosan in rice under normal and drought stress. Plants were cultured in modified WP No.2 medium as a normal condition (before drought stress) and then plants were subjected to 2% polyethylene glycal4000 (PEG4000) by adding to nutrient solution as a drought stress condition. Ten rice seedling including RD31, RD41, RD43, RD45, RD49, Khao Dawk Mali 105, Leuang Pratew 123, Pathum Thani 1, Riceberry and Suphan Buri 1 were treated with O80 chitosan 2 times at 0, 10, 20 or 40 ppm as well as acetic acid by seed soaking and spraying on the fully leaves 2 times. Under normal condition, rice seedlings were collected for 2 weeks (WP7 and WP14). While, during drought stress treatment, plants were harvested at 1 week (D7). From the statistic analysis showed the interaction of 2 factors between the cultivars and treatments of shoot fresh weight (SFW), root fresh weight (RFW, shoot dry weight (SDW) and root dry weight (RDW). Under nomal condition for 14 days, chitosan O80 concentration at 20 ppm could enhance the highest values of SFW, RFW, SDW and RDW were 2.4, 2.3, 3.0, and 3.8 times, respectively, in Pathum Thani 1. While, the SFW, RFW, SDW and RDW in Khao Dawk Mali 105 showed 2.2, 1.3, 2.2 and 2.2 times, respectively when compared to the control plant. Moreover, chitosan concentration at 10 ppm induced the highest concentration of chlorophyll a and chlorophyll b were 1.3 and 1.2 times, respectively in RD41. On the other hand, during drought stress for 7 days, Pathum Thani 1 rice had a higher of SFW, RFW, SDW, and RDW when treated with chitosan at 10 or 40 ppm especially chitosan at 10 ppm could increase of SFW, RFW, SDW and RDW, chl a and chl b at 1.4, 1.6, 1.5, 2.3, 2.0 and 1.7 times, respectively. Riceberry showed an increased of H2O2 under normal and drought conditions. In normal conditions, the highest H2O2 content was 10 μmol / gFW or 2.5 times when treated with chitosan concentration at 20 ppm. In the drought stress, the highest H2O2 content was 9 μmol / gFW or 1.8 times when subjected to chitosan concentration at 40 ppm. RD 49 responded to chitosan treatment at 20 ppm in normal and drought conditions , especially during drought stress,RD49 showed the hightest of ascorbic acid content at 40 µmol / gFW or 1.8 times. From the result indicates that each rice cultivar responded different levels of chitosan. Pathum Thani 1 rice had a higher of plant growth and photosynthetic pigment when treated with chitosan at 40 ppm in normal condition, while chitosan at 10 ppm was effective during drought stress. Rice berry showed a higher of H2O2 and ascorbic acid in normal and drought conditions, respectively when subjected to chitosan concentration at 20 ppm en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account