DSpace Repository

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรบางชนิดในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author เบญจวรรณ ชิวปรีชา
dc.contributor.author กาญจนา หริ่มเพ็ง
dc.contributor.author เอกรัฐ ศรีสุข
dc.contributor.author กล่าวขวัญ ศรีสุข
dc.contributor.author สาวินีย์ สีมาขันธ์
dc.contributor.author ปริยาภา เกตุกูล
dc.contributor.author พรสุดา กันแก้ว
dc.contributor.author คำรณ เลียดประถม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:21:21Z
dc.date.available 2019-03-25T09:21:21Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3181
dc.description.abstract การศึกษานี้ทําการประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบ และวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดเอทานอล และส่วนสกัดน้ำของพืชสมุนไพร 15 ชนิด จากโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี การประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบทําโดยวิเคราะห์การยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) และพรอสตาแกลนดิน E2 (prostaglandin E2) ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาไรด์ (lipopolysaccharide) ทดสอบความมีชีวิตรอดของเซลล์แมคโครฟาจที่สัมผัสกับส่วนสกัดของพืชโดยวิธี MTT และตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu ผลการศึกษาพบว่าส่วนสกัดของพืชสมุนไพรที่ศึกษามีฤทธิ์ต้านอักเสบ ส่วนสกัดใบสาบแร้งสาบกามีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบสูงที่สุด โดยไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์นอกจากนี้พบว่าความสามารถในการต้านอักเสบและปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดมีความสัมพันธ์ที่ต่ำ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าใบสาบแร้งสาบกาเป็นแหล่งของสารต้านอักเสบตามธรรมชาติที่ดี The present study was performed to evaluate anti-inflammatory activity and total phenolic contents of ethanolicand water extracts of 15 medicinal plants from Ban Ang-Ed official community forest, Chantaburi Province. The anti-inflammatory activity was determined by measuring an inhibitory effect onnitric oxide and prostaglandin E2 production in lipopolysaccharide-stimulated RAW 264.7 macrophages. The cell viability of macrophages exposed to the plant extracts was determined by MTT assay. Total phenolic contents were estimated by Folin-Ciocalteu method. The results show that anti-inflammatory activity was observed in the studied plant extracts. The extract from Ageratum conyzoidesLinn leaves exhibited the highest anti-inflammatory activity with no significant cytotoxicity. Additionally, the correlation of anti-inflammatory activity and total phenolic contents of the extracts was low. These obtained results indicated that leaves of A. conyzoidesare good sources of natural anti-inflammatory agents. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ป่าชุมชน th_TH
dc.subject พรอสตาแกลนดิน th_TH
dc.subject พืชสมุนไพร th_TH
dc.subject สารประกอบฟีนอล th_TH
dc.subject สารต้านการอักเสบ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรบางชนิดในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.volume 19
dc.year 2557
dc.journal วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha science journal.
dc.page 304-311.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account