Abstract:
ความผันแปรตามฤดูกาลของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่บริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึกมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้ถูกศึกษาเปรียบเทียบระหว่างฤดูฝน คือเดือนมิถุนายนและช่วงฤดูหนาวคือเดือนธันวาคมของปี 2000 การศึกษาในครั้งนี้ ทำการเก็บตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 4 ซ้ำ จาก 8 สถานีด้วยอุปกรณ์ตักดินแบบ Smith-McIntyre (0.0405 ตารางเมตร) จากการศึกษาค่าเฉลี่ยความหนาแน่นและมวลชีวภาพของน้ำหนักเปียกของสัตว์หน้าดินที่ได้จากการร่อนผ่านตะแกรงขนาด 0.5 มิลลิเมตร พบว่าในเดือนมิถุนายน มีค่าเท่ากับ 115+-36 ตัวต่อรางเมตร โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 49 ถึง 196 ตัวต่อตารางเมตร และในเดือนธันวาคม 127+-23 ตัวต่อตารางเมตร โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 6 ถึง 240 ตัวต่อตารางเมตร ค่าเฉลี่ยมวลชีวภาพของน้ำหนักเปียกมีค่าเท่ากับ 13.26+- 4.2 กรัมต่อตารางเมตร โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 2.61 ถึง 31.08 กรัมต่อตารางเมตร ในเดือนมิถุนายนและในเดือนธันวาคม มีค่าเท่ากับ 58.35+-11.17 กรัมต่อตารางเมตร โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.02 ถึง 258.95 กรัมต่อตารางเมตรสัตว์พื้นทะเลที่พบหนาแน่นมากที่สุดทั้งในเดือนมิถุนายนและธันวาคม ได้แก่ Polychaeta (76.3%) และ 52.1% ของทั้งหมด) รองลงมาคือ Echinodermata (9.9% และ 13.3%), Crustaceana (7.8% และ 16.9%) และ Mollusca (5.3% และ 10.8%) สำหรับมงลชีวภาพของสัตว์พื้นทะเลที่พบสูงที่สุดในเดือนมิถุนายน ได้แก่ Polychaeta (76.4%) รองลงมาได้แก่ Crustacean (10%), Hemichordata (5.7%), Mollusca (4.8%) และ Echinoderm (3.1%) ตามลำดับ และในเดือนธันวาคม มวลชีวภาพของสัตว์พื้นที่ทะเลที่พบสูงที่สุด ได้แก่ Polychaeta (11.63%) รองลงมาได้แก่ Echinoderm และ Mollusca (24.12% และ 24.57% ตามลำดับ)
ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นและมวลชีวภาพทั้งหมดของสัตว์หน้าดินที่พบในบริเวณที่ศึกษา
ในเดือนมิถุนายนมีแนวโน้มต่ำกว่าเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยความหนาแน่นและมวลชีวภาพทั้งหมดของสัตว์หน้าดินที่พบในทั้งสองเดือนมีค่าต่ำกว่าค่าที่ได้จากการศึกษาสัตว์หน้าดินในบริเวณอื่น ๆ สาเหตุของการลดลง
ของความหนาแน่นและมวลชีวภาพดังกล่าว อาจมีอิทธิพลเนื่องมาจาก การขุดลอกและการก่อสร้างที่เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องในบริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึกแห่งนี้ การขุดลอกดังกล่าวมีผลทำให้บริเวณนั้นนขุ่น เกิดสารแขวนลอยและดินตะกอนขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญตายหรือลดปริมาณความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินในบริเวณนั้น