Abstract:
เทโลเมียร์คือ สายนิวคลีโอไทด์สั้น ๆ ที่มีองค์ประกอบของเบสกวานีนในปริมาณมากซ้ำ ๆ กันไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยครั้ง พบบริเวณปลายของโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง เทโลเมียร์สังเคราะห์จากเอ็นไซม์เทโลเมอเรส ซึ่งคือเอนไซม์ประเภทเดียวกับเอ็นไซม์รีเวิสทรานสคริปเทสที่พบในไวรัสเอชไอวี เอ็นไซม์เทโลเมอเรสมีหน้าที่ควบคุมกลไกการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสและไมโตซีส พบว่าส่วนของเทโลเมียร์บริเวณปลายโครโมโซมจะสั้นลงทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัวทำให้มีการขาดหายของสารพันธุกรรมทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัว เข้าใจว่าความสั้นยาวของส่วนเทโทเมียร์มีบทบาทในโปรแกรมควบคุมความตายของมนุษย์ (apoptosis) มีหลักฐานพบว่าการทำงานของเอ็นไซม์เทโลเมอเรสจะสูงมากและสายเทโลเมียร์จะสั้นลงในเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ในอนาคตอาจจะมีการนำเอ็นไซม์เทโลเมอเรสและเทโลมียร์มาใช้รักษาโรคมะเร็งหลายชนิด ถ้าสามารถจะกระตุ้นให้เอ็นไซม์เทโลเมอเรสทำงานมากขึ้นซึ่งส่งผลให้สายเทโลเมียร์ที่ปลายโครโมโซมยาวขึ้นเพื่อปกป้องการขาดหายของโครโมโซมทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัว