DSpace Repository

การเปิดรับสื่อและภาพลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในทัศนะของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author จิตสวาท ปาละสิงห์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:22Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:22Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/262
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ และภาพลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในทัศนะของประชาชนในจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนทั่วไปในจังหวัดชลบุรี ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 407 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในระดับน้อย ซึ่งสื่อที่เปิดรับมากที่สุดคือสื่ออินเทอร์เน็ต โดยประเด็นข่าวสารที่มีการรับรู้มากที่สุดคือการเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และทัศนะต่อภาพลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยที่คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์เป็นสถาบันที่ประชาชนให้การยอมรับในฐานที่เป็นผู้นำทางด้านการศึกษามากที่สุด ผลการวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรด้านอายุ และอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลให้มีการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นลักษณะประชากรด้านเพศ การศึกษา และรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ลักษณะประชากรด้านอายุ รายได้ และอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นลักษณะประชากรด้านเพศ และการศึกษา การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับภาพลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในทัศนะของกลุ่มตัวอย่างในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาพลักษณ์องค์กร th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.subject สื่อประชาสัมพันธ์ th_TH
dc.title การเปิดรับสื่อและภาพลักษณ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในทัศนะของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative Title: Media Exposure and Attitudes towards the Images of Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University of Chonburi Residents The purpose of this study was to investigate Chonburi residents’ public relations media Exposure and their attitudes towards the images of the Faculty of Humanities and Social Sciences (HuSo) of Buapha University. A survey research method was employed. Using a convenience sampling method, 407 Chonburi residents aged at 15 years old and over were chosen as the samples. A questionnaire was used to collect the data. The findings revealed that the samples were likely to expose to HuSo public relations media and further indicated the Internet was among the media they had the greatest exposure to HuSo information. In addition, the samples were likely to search information related to undergraduate and graduate programs offered by HuSo, Burapha University when they were online. Results revealed that the samples’ attitudes towards the HuSo image was fairly positive and they agreed that HuSo was well received as the higher educational leaders in the field. Additionally, the results showed that the samples’ age and occupation played a significant role in influencing their degrees of the HuSo public relations media exposure (p<.05). Also, the samples’ age, incomes, and occupation played a significant role in predicting how they evaluated the HuSo images (p<.05). Last, the HuSo public relations media exposure was positively correlated with the HuSo images (p<.001). en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account