Abstract:
การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะภาพสื่อการแสดงพื้นบ้านตามองค์ประกอบของการสื่อสาร การสืบทอดสื่อการแสดงพื้นบ้าน รวมถึงปัจจัยในการดำรงอยู่ของสื่อการแสดงพื้นบ้านทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การณ์สัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ฝึกซ้อมการแสดง และการจัดเวทีสัมมนา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรม นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับสื่อการแสดงพื้นบ้าน ศิลปิน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อการแสดงพื้นบ้านเกี่ยวกับภาคตะวันออก
ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออกที่ศึกษาส่วนใหญ่มีสถานะภาพเข้มแข็งเป็นสื่อที่เน้นรับงานในเชิงธุรกิจ รวมทั้งมีสื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ชาติพันธุ์จีน กัมพูชา และชอง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อสถานภาพของสื่อการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่การมีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน การสนับสนุนจากชุมชน การสืบทอดต่อคนรุ่นใหม่ในโรงเรียน ผู้ขับเคลื่อนหลัก (Prime Mover) มีการศึกษาวิจัย และพื้นที่ด้านประเพณี 3) การสืบทอดเพื่อการแสดงพื้นบ้านทุกประเภทจะสืบทอดในรูปแบบ (From) คือ ทักษะการแสดงและการเล่นดนตรี ในขณะที่การสืบทอดในส่วนของความสัมพันธ์กับสื่อการแสดงพื้นบ้านประเภทอื่นยังมีน้อย 4) การสืบทอดสื่อการแสดงพื้นบ้านตามแนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม เน้นกระบวนการด้านการแพร่กระจายวัฒนธรรม (Distribution) มากกว่าด้านการผลิตซ้ำและบริโภควัฒนธรรม 5) การสืบทอดการแสดงพื้นบ้าน องค์ประกอบที่มีการสืบทอดอย่างเข้มแข็ง คือ องค์ประกอบด้านศิลปิน ส่วนองค์ประกอบที่มีการสืบทอดอย่างอ่อนแอ คือ การสืบทอดผู้ชม 6) สือการแสดงพื้นบ้านเชิงธุรกิจ สืบทอดโดยการปรับตามรสนิยมของผู้ชม ในขณะที่สื่อการแสดงพื้นบ้านที่ไม่ใช่ธุรกิจ(NON-Business Folk Media) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติพันธุ์ สืบทอดโดยยึดหลักสิทธิเจ้าของวัฒนธรรมโดยเน้นบทบาทด้านอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์