DSpace Repository

ผลของความเค็มต่อการเติบโตและการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูง

Show simple item record

dc.contributor.author นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
dc.contributor.author นารีรัตน์ พุมานนท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.available 2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2524
dc.description.abstract ศึกษาผลของความเค็มที่มีต่ออัตราการเติบโตและอัตราการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูง โดยทำการทดลองเลี้ยงปลาหางนกยูงในความเค็มต่างกัน 4 ระดับ คือ 0 (กลุ่มควบคุม), 3, 6 และ 9 ส่วนในพันสว่น เป็นเวลา 35 วัน และวัดอัตราการบริโภคออกซิเจนที่ความเค็มระดับดังกล่าวที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส จาการศึกษาพบว่า น้ำหนักของปลาหางนกยูงที่ความเค็ม 0, 3, 6 และ 9 ส่วนในพันส่วน ในวันสุดท้ายของการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 94.5±9.5, 93.6±6.7, 96.3±4.7 และ 101.0±9.1 มิลลิกรัมต่อตัว ตามลำดับ อัตราการเติบโตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.35±0.25, 2.33±0.17, 2.41±0.11 และ 2.54±0.24 มิลิกรัมต่อตัว ต่อวัน ตามลำดับ ซึ่งปลาหางนกยูงที่ความเค็ม 9 ส่วนในพันส่วน มีการเติบโตโดยน้ำหนักและอัตราการเติบโตสูงกว่าที่ความเค็ม 0 และ 3 ส่วนในพันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูงที่ความเค็ม 0 (กลุ่มควบคุม), 3, 6 และ 9 ส่วนในพันส่วน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.47±1.06, 4.88±1.25, 4.50±0.90 และ 4.51±0.91 มิลลิกรัมต่อชั่วโมงตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูง มีแนวโน้มลดลงเมื่อความเค็มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบทางสถิติพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ในแต่ละความเค็ม จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถเลี้ยงปลาหางนกยูงได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย Effect of salinity on growth rate and oxygen consumption rate of guppy (Poecilia reticulata) was studied by culturing guppies in four different salinities: 0 (control), 3, 6 and 9 ppt for a duration of 35 days. Oxygen consumption rate were measured in each salinity at the temperature of 27°C. At the end of the experiment, the average body weight of guppies at salinities 0, 3, 6 and 9 ppt were 94.5±9.5, 93.6±6.7, 96.3±4.7 and 101.0±931 mg/ind. respectively. The calculated growth rates were 2.35±0.25, 2.33±0.17, 2.41±0.11 and 2.54±0.24 mg./ind./day at salinities 0, 3, 6 and 9 ppt respectively. The statistical test showed that body weight and growth rate at salinity 9 ppt were significant higher than those at salimities 0 and 3 ppt (p<0.05). The oxygen consumption rates of guppy at salinities 0, 3, 6 and 9 ppt were 5.47±1.06, 4.88±1.25, 4.50±0.90 and 4.51±0.91 mmol/mg/h respectively. Oxygen consumption rates seemed to decrease with increasing salinities. However, the statistical test showed no significant difference among each salinity. The result showed that it is possible to rear guppies in freshwater and brackish water conditions. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ความเค็ม th_TH
dc.subject ปลา - - การเจริญเติบโต th_TH
dc.subject ปลา - - การเลี้ยง th_TH
dc.subject ปลาหางนกยูง - - การเจริญเติบโต th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ผลของความเค็มต่อการเติบโตและการบริโภคออกซิเจนของปลาหางนกยูง th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 14
dc.year 2552
dc.journal วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha Science Journal
dc.page 80-87.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account