DSpace Repository

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจังหวัดชลบุรีให้ปราศจากยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์และแบคทีเรียก่อโรค

Show simple item record

dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ th
dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย th
dc.contributor.author สวามินี ธีระวุฒิ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/241
dc.description.abstract โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจังหวัดชลบุรีให้ปราศจากยาฆ่าแมลงสีสังเคราะห์และแบคทีเรียก่อโรค” ในปีที่ 2 ได้ทำการศึกษา 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 คือการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพร 10 ชนิด ต่อ S.aureus ซึ่งเป็นตัวแทนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารทะเลแห้งด้วยเทคนิค Agar well diffusion assay พบว่าสารสกัดสมุนไพรชนิด A ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 80 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของ S.aureus ได้ดีที่สุด รองลงมา คือกลุ่มของสารสกัดสะระแหน่ มะนาว พริกและขิง และกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งน้อยที่สุดคือสารสกัดมะกรูด ตะไคร้ กระเทียม ขมิ้นชันและพริกไทย จากนั้นนำสารสกัดสมุนไพรA มาศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์หมึกบดแห้ง พบว่าสารสกัดชนิดนี้สามารถยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรป แบคทีเรียกลุ่มทนเค็ม S.aureus ยีสต์และรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสารสกัดสมุนไพรชนิด A จึงมีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นสารกันเสียทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง S.aureus เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคแทนการใช้สารกันเสียสังเคราะห์ได้ในอนาคต และการในส่วนที่ 2 คือ การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งของแบคทีเรียโพรไบโอติกต่อ S.aureus โดยทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของแบคทีเรียโพรไบโอติกกลุ่ม Bacillus sp.5 สายพันธุ์ ใน 2 รูปแบบคือ แบบส่วนใสและเซลล์แขวนลอยในการยับยั้ง MSSA ที่แขยกได้จากอาหารทะเลแห้งจำนวน 30 ไอโซเลท ซึ่งนำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งของแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus sp.5 แบบเชื้อเดี่ยวและเชื้อผสม จากผลการทดลองพบว่ารูปแบบส่วนใสของแบคทีเรียชนิด Bacillus BUU 004 เพียงสายพันธุ์เดียวที่สามารถยับยั้ง S.aureus ได้คิดเป็น 73.33 % สำหรับรูปแบบเซลล์แขวนลอย พบว่ารูปแบบเซลล์แขวนลอยของแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus BUU 004 สามารถยับยั้ง S.aureus 53.33% และรองลงมาคือ Bacillus BUU 005 ที่สามารถยับยั้ง S.aureus คิดเป็น 13.33% ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดสมุนไพรชนิด A และ Bacillus BUU 004 มีฤทธิ์ในการยับยั้ง S.aureus ได้ดีที่สุดทั้ง 2 รูปแบบ รวมทั้งน่าจะมีศักยภาพนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารในการยับยั้ง S.aureus ในอาหารทะเลแห้งเพื่อทดแทนสารเคมีต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject สารต้านจุลชีพ th_TH
dc.subject สารต้านแบคทีเรีย th_TH
dc.subject อาหารทะเล - - การปนเปื้อน th_TH
dc.subject อาหารทะเล - - จุลชีววิทยา - - ไทย - - ชลบุรี th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมอาหารทะเล - - มาตรการความปลอดภัย th_TH
dc.title การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในจังหวัดชลบุรีให้ปราศจากยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์และแบคทีเรียก่อโรค th_TH
dc.title.alternative Development of seafood products sale in chon buri for insecticides, synthetic dyes and pathogenic bacteria-free en
dc.type Research
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative This research “Development of seafood products sale in Chon Buri for insection, synthetic dyes and pathogenic bacteria-free” in the second year was investigated on 2 sections of the experiment. In the first phase, efficiency of medicinal plant extracts against S. aureus as a model for pathogenic becteria isolated in dried seafood with ager well diffusion assay was set up. Results demonstrated that herb typs A extract with 80 mg/ml was the growth inhicition of S. aureus, followed by Marsh Mint (Metha cordifolia Opiz.), Lime (Citus aurantifolia Swingle.), Chilli Padi (Capsicum frutescens Linn.), and Ginger (Zingiber officinale Rosc.) The least inhibitory efficiencies were Kaffir lime (Citrus hystrix), Lemongrass (Cymbopogon citratus (DC.), Garlic (Allium sativum Linn.), Tumeric (Curcuma longa Linn.), and Black pepper (Piper nigrum Linn Staph.) Then, antimicrobial activity of herb type A was investigated in dried processed squid. Herb type A was able to effectively remove heterotrophic bacteria, halotolerant bacteria, S. aureus and yeast and mold. Therefore, herb type A extract could be applied for the new alternative preservative agent in order to inhibit pathogenic bacteria, especially S. aureus and be safety for consumer, replacing synthetic preservative agent in the future. In the second phase, antibacterial activity of probiotic bacteria against those S. aureus was established. The inhibitory activities of 5 types of Bacilum sp. in two forms (cell-free and cell suspensions) and two types (single and mixed Bacillus sp.) on 30 isolates of those S. aureus were investigated using ager well diffusion assay. Results showed that cell-free suspention of only Bacillus BUU 004 potent activity against 73.33% S. aureus. In addition, cell suspension of Bacillus BUU 004 showed the strongest inhibitory activity on 53.33 % S. aureus, following by Bacillus Buu 005 with 13.33% S. aureus. In conclusion, cell-free and call suspensions of Bacillus BUU 004 and herb type A could inhibit S. aureus isolated from the dried seafood and had the potential application against S. aureus in seafood industry in order to further substitute synthetic preservative. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account