Abstract:
ได้ดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาของปริมาณคลอโรฟิลล์-เอบริเวณพื้นผิวทะเลอันดามัน
โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Aqua MODIS (MODerate-resolution Imaging Spectroradiometer) ในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2552
ด้วยโปรแกรม SeaDAS (SeaWiFS Data Analysis System) พบว่าปริมาณคลอโรฟิลล์-เอที่ผิวทะเลบริเวณทะเลอันดามันในรอบปี
เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุม โดยมีค่าสูงในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน-มีนาคม) ค่าสูงสุดอยู่ในเดือนมกราคม
(0.62 ± 1.44 mg/m3) และมีค่าต่ำในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม-กันยายน) ค่าต่ำสุดอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม (0.26 ± 0.46
mg/m3) และจากความสัมพันธ์ของคลอโรฟิลล์-เอและอุณหภูมิที่ผิวทะเลในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือรวมถึงลักษณะของกระแสลม
ในช่วงเวลาต่างๆ แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นและลดลงของปริมาณคลอโรฟิลล์-เออาจมีความสอดคล้องกับกระบวนการน้ำผุด (upwelling)
และกระบวนการน้ำมุด (downwelling) บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของทะเลอันดามัน