Abstract:
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดรางจืด (Thunbergia laurifolia Linn) ด้วยเมทานอลเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับยาปฏิชีวนะคือ แอมพิชิลิน (ampicillin) และเตตราชัยคลิน (tetracycline) ในการยับยั่งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบฉวยโอกาส 6 สายพันธ์ได้แก่ Escherichia coli ATCC 25913, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis, Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter bumannii และ Serratia marcessens ทำการวัดผลจากค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (minimum inhibitory concentration, MIC) ด้วยวิธี agar diffusion susceptibility test ซึ่งพบว่า สารสกัดจากรางจืดด้วยเมทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มฉวยโอกาสทุกชนิดที่นำมาทดสอบ โดยมีผลยับยั้งการเจริญของ P. aeruginosa ได้ดีที่สุด ที่ค่า MIC เท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมามีผลต่อการเจริญของ K. pneumoniae, S. marcescens, and P. mirabilis (ที่ค่า MIC เท่ากับ 40 mg/ml) และมีผลต่อ E.coli ATCC25913 และ A. baumannii น้อยที่สุด (ที่ค่า MIC เท่ากับ 80 mg/ml) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับยาปฏิชีวนะ พบว่าสารสกัดรางจืดด้วยเมทานอลมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบฉวยโอกาสบางสายพันธ์ได้ในระดับที่ต่ำกว่าแอมพิชิลินและเตตราชัยคลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากรางจืดสามารถใช้เป็นยาต้านจุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติ