DSpace Repository

นางมโนห์รา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์

Show simple item record

dc.contributor.author สิริวรรณ วงษ์ทัต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:12:42Z
dc.date.available 2019-03-25T09:12:42Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2159
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรมกลอนสวดเรื่อง นางมโนห์รา ฉบับจังหวัดจันทบุรี เนื้อหางานวิจัยแบ่งเป็น 5 บท บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาและความมุ่งหมาย บทที่ 2 ภูมิหลังต้นฉบับเรื่องมโนห์รา บทที่ 3 ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง มโนห์ราเชิงวรรณกรรม บทที่ 4 ศึกษาวิเคราะห์เรื่องมโนห์ราเชิงสังคม บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าต้นฉบับลายมือเรื่องมโนห์ราบันทึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบอักษร อักขรวิธีแตกต่างจากปัจจุบัน วิธีการเขียนคำส่วนใหญ่เขียนตามการออกเสียง มีการใช้เครื่องหมายแทนสระ และเครื่องหมายประกอบการเขียน กลวิธีสการประพันธ์ใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์ การใช้กวีโวหาร และมีการใช้วิธีการเขียนที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้แต่งด้วย รูปแบบการแต่งเป็นไปตามรูปแบบของวรรณกรรมและนิทานชาดก กลวิธีการสร้างเรื่องทั้งโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก ลักษณะนิสัย พฤติกรรมของตัวละครเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน และแสดงถึงสารัตถะสำคัญของเรื่องอย่างชัดเจน คือ ความรัก สารัตถะรอง คือ การพลัดพราก และการผจญภัย แนวเรื่องเป็นแบบวรรณคดีไทยโบราณ โดยเฉพาะแนวการพลัดพราก คือการพลัดพรากระหว่างพระเอกกับนางเอก ตัวละครในเรื่องมีทั้งมนุษย์และอมนุษย์ บทบาทของตัวละครกำหนดประเภทของตัวละครอย่างชัดเจน คือ ตัวละครเอก ตัวละครประกอบ ตัวละครฝ่ายดี ตัวละครฝ่ายร้าย ด้านการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงสังคมปรากฎความเชื่อของสังคมไทย มีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนา ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ด้านค่านิยมของสังคมไทยมีทั้งค่านิยมในอดีต และค่านิยมที่ยังประพฤติปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ด้านวัฒนธรรม ประเพณีไทย ปรากฎประเพณี วัฒนธรรมไทย ด้านต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทย และบ่งบอกถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject กลอนสวด th_TH
dc.subject คติชาวบ้าน th_TH
dc.subject วรรณกรรม th_TH
dc.subject ศิลปะการใช้ภาษา th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title นางมโนห์รา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 21
dc.volume 14
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study a Klon-suat named Manohra of the Chantaburi version. The research is divided into five chapters: Chapter I: Introduction: the significance of the problem and the purposes of the work, Chapter II: The background of this version of Manohra, Chapter III: Literary analysis, Chapter IV: Social analysis, and Chapter V: Conclusion and suggestions. The consequences of the research reveal that the Manohramanuscript is written in Thai, both language and alphabet, of the early Rattanakosin period. The letters of the alphabet and the orthography are sifferent from what they are now. The spellings of most words depend on their pronunciations, with various graphemes for the same vowels, together with punctuations. The meter used is the "Kaap". The use of words is simple, with the use of archaic, peculiar, regional and rhetorical expressions, which shows the outstanding capacity of the poet. The writing style is in the form of fiction and that of the jataka tales. The composites of the story, namely, the theme, the plot, and the characters' characteristics and behaviours are related to each other and clearly lead to the main them, love. The secondary themes are separation and adventure. The theme of separation, especially of the hero and the heroine, is typical to classical Thai romance. The characters are both human-beings and non-human-beings, whose roles clearly catagorise them into major and minor characters, and also into protagonists and antagonists. On the social aspects, the story reveals Thai social beliefs, comprising Buddhism, witchcraft and astrology. As Thai social values, there are both those extinct and those still preserved. As to cultural and traditional aspects, the story depicts the Thai ways of life through which the uniqueness of Thai traditions and culture is remarkably revealed. en
dc.journal วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.page 67-105.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account