DSpace Repository

ผลของความเค็มต่ออัตราการรอดตายและการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของเพรียงทราย (Perinereis nuntia)

Show simple item record

dc.contributor.author นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
dc.contributor.author จิรายุ สินเจริญทรัพย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.available 2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2086
dc.description.abstract ศึกษาผลของความเค็มต่ออัตราการรอดตายและการควบคุมปริมาตร (Volume Regulation) ของเพรียงทราย (Perinereis nuntia) ที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 0.55±0.25 กรัม ความยาวเฉลี่ย 12.5±1.8 เซนติเมตร โดยนำเพรียงทรายมาปรับสภาพที่ระดับความเค็มน้ำ 35 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นนำมาทดลองหาอัตราการรอดตายและความสามารถในการควบคุมปริมาตรที่ระดับความเค็ม 0, 10, 20, 35 และ 40 ในช่วงเวลา 0, 1, 3, 6, 9, 12, 24, 48 และ 96 ชั่วโมง โดยการวัดน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา จากการศึกษาที่ระดับความเค็ม 0 มีอัตราการรอดตายต่ำสุดเมื่อเทียบกับอัตราการรอดตายที่ระดับระดับความเค็มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนอัตราการ รอดตายในระดับความเค็มช่วง 10, 20, 35 และ 40 มีอัตราการรอดตายที่ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) สำหรับความสามารถในการควบคุมปริมาตรพบว่าที่ระดับความเค็ม 0 น้ำหนักของเพรียงทรายมีค่ามากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักที่ระดับความเค็มอื่นๆ โดยมีน้ำหนัก 1.1±0.35 กรัม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับน้ำหนักของเพรียงทรายที่ระดับความเค็ม 10, 20, 35 และ 40 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.8± 0.47, 0.8±0.51, 0.5±0.24 และ 0.4±0.05 กรัมตามลำดับ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ความเค็ม th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.subject อัตราการรอดตาย th_TH
dc.subject เพรียงทราย th_TH
dc.title ผลของความเค็มต่ออัตราการรอดตายและการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของเพรียงทราย (Perinereis nuntia) th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 18
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative Effect of salinity on survival rate and the ability to change in volume (Volume regulation) of Polychaete (Perinereis nuntia) with average weight of 0.55±0.25 g and average length of 12.5±1.8 cm were studied. The polychaetes were acclimated at a salinity of 35 for 1 week. After acclimation, the rate of survival and the ability to regulate volume were determined at salinities of 0, 10, 20, 35 and 40 after 0, 1, 3, 6, 9, 12, 24, 48 and 96 hour by measuring the weight changed. The survival rates at salinity 0 was significant lower than survival rate of other salinities (P<0.05). However the survival rates in salinity 10, 20, 35 and 40 were not different (P>0.05). For the ability to regulate volume, there is statistically significant (P<0.05) increase in weight changed at 0 (1.1 ± 0.35 g.) compared with the change in other salinities (0.8±0.47, 0.8±0.51, 0.5±0.24 and 0.4±0.05 g. in salinities of 10, 20, 35 and 40 respectively). en
dc.journal วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา
dc.page 43-48.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account