dc.contributor.author |
ศศิธร มั่นเจริญ |
|
dc.contributor.author |
ปิยะพร ณ หนองคาย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:10:38Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:10:38Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2040 |
|
dc.description.abstract |
ในโครงการวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์อนุภาคแม่เหล็กนาโนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดูดซับโลหะโดยการเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยพอลิเมอร์ ซึ่งพอลิเมอร์ที่นำมาเคลือบมี 2 ชนิดด้วยกันคือ ไคโตซานสำหรับการดูดซับโครเมียม(VI) และอะกาโรสสำหรับการดูดซับโคบอลต์ (II) ขั้นตอนการเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโนด้วยพอลิเมอร์นั้นได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโน เช่น ปริมาณไคโตซานที่ใช่ในการเคลือบบนอนุภาคแม่เหล็กนาโน ปริมาณกลูตารัลดีไฮด์ และเวลาในการเกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของไคโตซาน (สำหรับไคโตซาน) และการปรับเปลี่ยนสภาพผิวอะกาโรสด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้นของอะกาโรส ความเข้มข้นของสารละลาย span 80 ระยะเวลาในการเขย่าสารในช่วงของการเติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และระยะเวลาการเขย่าสารในช่วงของการเติมสารละลาย span 80 (สำหรับอะกาโรส) เป็นต้น จากผลการทดลองพบว่าขนาดอนุภาคแม่เหล็กนาโนมีขนาดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 8.88 ± 2.30 นาโนเมตร และเมื่อเคลือบอนุภาคแม่เหล็กนาโนด้วยพอลิเมอร์แล้วอนุภาคที่ได้มีขนาดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 14.91 ± 3.46 นาโนเมตร และ 18.60 ± 3.50 นาโนเมตร สำหรับอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่เคลือบด้วยไคโตซาน และอะกาโรส ตามลำดับ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในขั้นตอนการดูดซับโลหะ (ผลของพีเอช และผลของเวลาในการดูดซับ) ศึกษาไอโซเทอมการดูดซับ และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการชะโลหะจากอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบด้วยพอลิเมอร์ ซึ่งผลการทดลองพบว่าไอโซเทอมของการดูดซับโลหะทั้งสองชนิดเป็นแบบแลงเมียร์ และเมื่อนาอนุภาคแม่เหล็กนาโนเคลือบพอลิเมอร์ทั้งสองชนิดไปทาการดูดซับโครเมียม (VI) และโคบอลต์(II) พบว่าอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่เคลือบด้วยไคโตซานสามารถดูดซับโครเมียม(VI) ได้ดีเป็นที่น่าพอใจ ส่วนอนุภาคแม่เหล็กนาโนที่เคลือบด้วยอะกาโรสสามารถดูดซับโคบอลต์(II) ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจะมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
น้ำทิ้ง |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
th_TH |
dc.subject |
แม่เหล็กนาโน |
th_TH |
dc.title |
การกำจัดโลหะอันตรายในน้ำทิ้งจากห้องปฏิบัติการด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโน (Fe3O4) เคลือบด้วยพอลิเมอร์ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Removal of toxic metals in laboratory wastewaters using polymer coated magnetic nanoparticles (Fe3O4) |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
muncharoen@buu.ac.th |
|
dc.author.email |
piyapornn@buu.ac.th |
|
dc.year |
2559 |
|
dc.description.abstractalternative |
In this work, the synthesis of magnetite nanoparticles for metals adsorption has been investigated. Two types of the polymer coated on the magnetite nanoparticles was chitosan for Cr(VI) adsorption and agarose for Co(II) adsorption, respectively. In coating polymer step, the optimal conditions were studied such as for chitosan coating: amount of chitosan and glutaraldehyde including time of cross-linkage and for agarose coating: amount of agarose and concentrations of NaOH and span 80 including times for adding NaOH and span 80 etc. The results showed that diameters of bare particles, chitosan and agarose coated on the particles were 8.88 ± 2.30, 14.91 ± 3.46 and 18.60 ± 3.50, respectively. In addition, optimum conditions for adsorption of the metals and adsorption isotherms involving elution were also studied. The results obtained that the polymer coated on the nanoparticles corresponding to Langmuir isotherm. Moreover, the polymer coated particles were applied for adsorption of Cr(VI) and Co(II). It was observed that the chitosan coated nanoparticles can appropriately removal of Cr(VI) while the agarose coated nanoparticles can improperly removal of Co(II) |
en |