dc.contributor.author | กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ | |
dc.contributor.author | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:10:37Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:10:37Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2014 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง บทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี เป็นงานวิจัย เชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพิธีไหว้ครูดนตรีไทยของคณะปี่พาทย์ การสืบทอดโองการไหว้ครู และบทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี จากการศึกษาพบว่า ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ปรากฏพบคณะปี่พาทย์ จํานวน ๘ คณะที่จัดงานพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ได้แก่ คณะครูช้วน เรือง เดช คณะสุพัฒนศิลป์ คณะประสิทธิ์สังคีต คณะ พ่อขม โพธิ์ทอง คณะนายเสนอ บัวแผน คณะติ๊ด ศรีราชา คณะสํารวยศิลป์ และคณะ พ. ปัญจศิลป์ การกําหนดวันในการจัดงานพิธีไหว้ครูดนตรีไทย เลือกกําหนด จัดงานพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ โดยยึดถือเอาผู้จัดงาน ผู้อ่านโองการและนักดนตรีปี่พาทย์ พิธีเป็นหลัก การจัดเครื่องสังเวยเป็นไปตามข้อกําหนดทั่วไป นักดนตรี ผู้บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครูส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายนักดนตรีในท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี ปรากฏพบการสืบทอดตําราพิธีไหว้ครูโบราณ จํานวน ๘ ตํารา ของผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครู จํานวน ๔ ท่านในท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี ได้แก่ ท่านแรกครูสงบ ทองเทศ สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณ จํานวน ๓ ตํารา มาจากครู ๓ ท่าน ได้แก่ ครูหย่อน ทองเทศ ครูทองใบ คงสวัสดิ์ และครูสวิต ทับทิมศรี ท่านที่สองครูชัยฤทธิ์ นาคพงศ์ สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณจํานวน ๓ ตํารา มาจากครู ๓ ท่าน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ครูบุญยัง เกตุคง และครูสินพร ผ่องศรี นับเป็นการรับโองการของสาย ดนตรีไทยและโขน ละคร ท่านที่สามครูไพบูลย์ ธีระสุนทรไท สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณ จํานวน ๑ ตํารา มาจากครูสลด ศิริเพชร และท่านที่สี่ครูดิสันต์ คงประเสริฐ สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณ จํานวน ๑ ตํารา มาจากครูประสิทธิ์ คงประเสริฐ ทั้งนี้ ยังปรากฎพบว่าครูชัยฤทธิ์ นาคพงศ์ และนาวาอากาศตรี ดิสันต์ คงประเสริฐได้ปรับปรุงตําราไหว้ครูโดยยึดถือเอาแนวปฏิบัติจากตําราที่ได้รับถ่ายทอดมาให้เกิด ความสมบูรณ์มากขึ้น ปรากฏพบบทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี จํานวน ๕๙ เพลงที่แตกต่างกันออกไปตามลําดับพิธีกรรมของแต่ละพิธี โดยสามารถจําแนกบทเพลงออกเป็น ๑) เพลงตระ จํานวน ๑๘ เพลง เพลงตระที่ถูกใช้ในพิธีมากที่สุดคือ เพลงตระสันนิบาต เพลงตระพระปรคนธรรพ เพลงตระมงคล จักรวาล และเพลงตระเชิญ ๒) เพลงเสมอจํานวน ๑๐ เพลง เพลงเสมอที่ถูกใช้มากที่สุดคือ เพลงเสมอ เถร เพลงเสมอมารและบาทสกุณี ๓) เพลงพราหมณ์จํานวน ๓ เพลง เพลงพราหมณ์ที่ถูกใช้มากที่สุดคือ เพลงพราหมณ์เข้าและเพลงพราหมณ์ออก ๔) เพลงหน้าพาทย์ อื่น ๆ จํานวน ๒๘ เพลง โดยพบว่าทุกพิธีมี การใช้เพลงสาธุการ เพลงนั่งกิน เพลงเซ็นเหล้า เพลงเชิดและเพลงกราวรํา โดยเพลงหน้าพาทย์ที่พบ แสดงให้เห็นว่าพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี มีการเรียกใช้เพลงหน้าพาทย์ ที่เช่นเดียวกับพิธีไหว้ครู ดนตรีไทยทั่วไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจําปี พ.ศ. 2558 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ดนตรีไทย | th_TH |
dc.subject | บทเพลง | th_TH |
dc.subject | สาขาปรัชญา | th_TH |
dc.title | บทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Music of Wai Kru ceremony in Chonburi province | en |
dc.type | Research | |
dc.author.email | kittipanc@buu.ac.th | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | The present study is a qualitative research involving the music of Wai Kru ceremony in Chonburi province. The study aims to investigate Thai Classical Music’s Wai Kru ceremony (paying homage and respect to teachers) of Pipat troupes, the transmission of Wai Kru ceremony ritual book and music played in Thai Classical Music’s Wai Kru ceremony in Chonburi province. The study shows that, from the period of June – November 2015, there are eight Pipat troupes’s Wai Kru ceremony. They are Chuan Ruengdech, Supatanasilpa, Prasitsangkiet, Po-khom Pothong, Sa-ner Paenbua, Tid Sriracha, Samruaysilpa, and Pau Punchasilpa. The day of the ceremony is designated on either on Thursday or Sunday which depends on the troupe, the master of ceremony, and the musicians. Setting of Krueng Sangwey (offerings of food, fruit or flowers) is based on the general requirements. Most of the musicians of the ceremonies are in Chonburi local musician network. Furthermore, it is found that eight ritual book of old Wai Kru ceremony have been transmitted to four Thai music masters in Chonburi. The first master is Kru Sa-ngob Thongted. He has been given three books from three Thai music masters, Kru Yon Thongted, Kru Thongbai Kongsawad and Kru Sawit Tubtimsri. The second person is Kru Chairit Nakpong, receiving three books from three masters i.e. M.R. Jaroonsawad Sukasawadi, Kru Boonyang Ketkong and Kru Sinporn Pongsri. This is considered the transmission of Thai music and Khon drama. The third master is Kru Paiboon Teerasuntorntai, inheriting one book from Kru Salod Siripetch. The last master is Squadron Leader Disan Kongprasert. One book has been passed to him by Kru Prasit Kongprasert. However, it is also discovered that Kru Chairit Nakong and Squadron Leader Kongprasert have revised their protocol for Thai classical music’s Wai Kru ceremony by applying those principles prescribed in the books inherited for more completion. Songs played in the ceremonies in Chonburi consist of 59 Na pat songs. These songs differ in terms of their roles in each process of the ceremony. They can be categorized into 1) Tra song - 18 songs are found and the most frequently played are Tra Sannibat, Tra Pra Parakontap, Tra Monkon Jakrawan and Tra Chern; 2) Sa Mer song – 10 songs are played and the most frequently played songs are Sa Mer Tera, Sa Mer Marn and Batskunee; 3) Brahman song – three of which are found and the songs most frequently played are Brahman Kao and Brahman Aok; and 4) Na Pat song – 28 songs are found and songs i.e. Nang Kin, Sen Lao, Cherd, and Grao Ram are played in all of the ceremonies. It can be inferred from these Na Pat songs found that Na Pat songs are chosen in Thai Classical Music’s Wai Kru ceremony as in other Thai Classical Music’s Wai Kru ceremonies | en |