Abstract:
งานวิจัยเรื่อง บทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี เป็นงานวิจัย
เชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพิธีไหว้ครูดนตรีไทยของคณะปี่พาทย์
การสืบทอดโองการไหว้ครู และบทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี
จากการศึกษาพบว่า ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ปรากฏพบคณะปี่พาทย์ จํานวน ๘ คณะที่จัดงานพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ได้แก่ คณะครูช้วน เรือง เดช คณะสุพัฒนศิลป์ คณะประสิทธิ์สังคีต คณะ
พ่อขม โพธิ์ทอง คณะนายเสนอ บัวแผน คณะติ๊ด ศรีราชา คณะสํารวยศิลป์ และคณะ พ. ปัญจศิลป์ การกําหนดวันในการจัดงานพิธีไหว้ครูดนตรีไทย เลือกกําหนด จัดงานพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ โดยยึดถือเอาผู้จัดงาน ผู้อ่านโองการและนักดนตรีปี่พาทย์ พิธีเป็นหลัก การจัดเครื่องสังเวยเป็นไปตามข้อกําหนดทั่วไป นักดนตรี
ผู้บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครูส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายนักดนตรีในท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี
ปรากฏพบการสืบทอดตําราพิธีไหว้ครูโบราณ จํานวน ๘ ตํารา ของผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครู จํานวน ๔ ท่านในท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี ได้แก่ ท่านแรกครูสงบ ทองเทศ สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณ จํานวน ๓ ตํารา มาจากครู ๓ ท่าน ได้แก่ ครูหย่อน ทองเทศ ครูทองใบ คงสวัสดิ์ และครูสวิต ทับทิมศรี ท่านที่สองครูชัยฤทธิ์ นาคพงศ์ สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณจํานวน ๓ ตํารา มาจากครู ๓ ท่าน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ครูบุญยัง เกตุคง และครูสินพร ผ่องศรี นับเป็นการรับโองการของสาย
ดนตรีไทยและโขน ละคร ท่านที่สามครูไพบูลย์ ธีระสุนทรไท สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณ จํานวน ๑ ตํารา มาจากครูสลด ศิริเพชร และท่านที่สี่ครูดิสันต์ คงประเสริฐ
สืบทอดตําราไหว้ครูโบราณ จํานวน ๑ ตํารา มาจากครูประสิทธิ์ คงประเสริฐ ทั้งนี้
ยังปรากฎพบว่าครูชัยฤทธิ์ นาคพงศ์ และนาวาอากาศตรี ดิสันต์ คงประเสริฐได้ปรับปรุงตําราไหว้ครูโดยยึดถือเอาแนวปฏิบัติจากตําราที่ได้รับถ่ายทอดมาให้เกิด ความสมบูรณ์มากขึ้น ปรากฏพบบทเพลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี จํานวน ๕๙ เพลงที่แตกต่างกันออกไปตามลําดับพิธีกรรมของแต่ละพิธี โดยสามารถจําแนกบทเพลงออกเป็น ๑) เพลงตระ จํานวน ๑๘ เพลง เพลงตระที่ถูกใช้ในพิธีมากที่สุดคือ เพลงตระสันนิบาต เพลงตระพระปรคนธรรพ เพลงตระมงคล จักรวาล และเพลงตระเชิญ ๒) เพลงเสมอจํานวน ๑๐ เพลง เพลงเสมอที่ถูกใช้มากที่สุดคือ เพลงเสมอ เถร เพลงเสมอมารและบาทสกุณี ๓) เพลงพราหมณ์จํานวน ๓ เพลง
เพลงพราหมณ์ที่ถูกใช้มากที่สุดคือ เพลงพราหมณ์เข้าและเพลงพราหมณ์ออก ๔) เพลงหน้าพาทย์ อื่น ๆ จํานวน ๒๘ เพลง โดยพบว่าทุกพิธีมี การใช้เพลงสาธุการ เพลงนั่งกิน เพลงเซ็นเหล้า เพลงเชิดและเพลงกราวรํา โดยเพลงหน้าพาทย์ที่พบ แสดงให้เห็นว่าพิธีไหว้ครูดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี มีการเรียกใช้เพลงหน้าพาทย์ ที่เช่นเดียวกับพิธีไหว้ครู ดนตรีไทยทั่วไป