DSpace Repository

ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และการเกิดสนิมของเหล็กเสริมใน คอนกรีตผสมเถ้าลอยและผงหินปูนที่เผชิญสิ่งแวดล้อมทะเล

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:10:04Z
dc.date.available 2019-03-25T09:10:04Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2005
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ และการเกิดสนิมของเหล็กเสริมใน คอนกรีตที่เผชิญสิ่งแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 3 ปี วัสดุประสานที่ใช้ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอซโซลาน เถ้าลอย และผงหินปูน ใช้ อัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสาน 0.20 0.40 และ 0.60 อัตราส่วนผงหินปูนต่อวัสดุประสาน 0.05 0.10 และ 0.15 และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 0.50 และ 0.60 ทําการฝังเหล็กเสริม RB12 ในตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 20x20x20 ซม3 ที่ระยะหุ้มเหล็กเสริม 1 ซม 2 ซม 5 ซม และ 7.5 ซม แล้วบ่มตัวอย่างคอนกรีตเป็นเวลา 28 วัน ก่อนนําไปเผชิญสิ่งแวดล้อมทะเลบริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ที่ตําบลอ่างศิลา อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เมื่อครบระยะเวลา 3 ปี จึงเก็บตัวอย่างคอนกรีตมา ทดสอบหาปริมาณคลอไรด์ที่ระดับความลึกต่าง ๆ จากผิวหน้าคอนกรีต กําลังอัดคอนกรีต และนํา เหล็กเสริมที่ฝังไว้มาทดสอบหาพื้นที่การเกิดสนิมและการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมเนื่องจาก เกลือคลอไรด์ จากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปอซโซลานมีความต้านทาน การแทรกซึมคลอไรด์ดีที่สุด สําหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสาน 2 ชนิด พบว่า คอนกรีตที่ผสมเถ้า ลอยหรือผงหินปูนไม่เกินร้อยละ 5 มีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์มากกว่าคอนกรีตที่ใช้ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททที่ 1 เพียงอย่างเดียว สําหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสาน 3 ชนิด พบว่า การใช้สัดส่วนปริมาณเถ้าลอยสูงและผงหินปูนน้อยแทนที่ปูนซีเมนต์ในคอนกรีตทําให้ความ ต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของกําลังอัดคอนกรีตทําให้ความต้านทานการ แทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตสูงขึ้น และการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมลดลง th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณเงินแผ่นดิน) ประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีตเสริมเหล็ก th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.subject เกลือคลอไรด์ th_TH
dc.title ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และการเกิดสนิมของเหล็กเสริมใน คอนกรีตผสมเถ้าลอยและผงหินปูนที่เผชิญสิ่งแวดล้อมทะเล th_TH
dc.title.alternative Chloride penetration resistance and corrosion of reinforcing steel in concrete containing fly ash and limestone powder after exposed to marine environment en
dc.type Research
dc.year 2560
dc.description.abstractalternative This research aims to study chloride penetration resistance and corrosion of reinforcing steel in concrete exposed to marine environment for 3 years. The binders were Portland cement type 1, Portland cement type 5, pozzolan cement, fly ash and limestone powder. Fly ash to binder ratio of 0.20, 0.40 and 0.60 and limestone powder to binder ratio of 0.05, 0.10 and 0.15 were used. Water to binder ratio was varied at 0.40, 0.50 and 0.60. Reinforcing steels of RB12 were embedded in concrete cube specimens of size 20x20x20 cm at covering depths of 1, 2, 5 and 7.5 cm. Specimens were cured for 28 days before exposed in tidal zone of marine environment at Angsila, Muang, Chonburi. After 3-year exposure, the specimens were collected from site for testing the chloride content at different distance from exposed surface and the compressive strength of concrete. The embedded steels were investigated for the corrosion area and the weight loss of reinforcing steel due to chloride-induced corrosion. From the experimental results, it was found that concrete with pozzolan cement had the highest chloride penetration resistance. For binary binder concrete, concrete with fly ash or concrete with limestone not greater than 5% had higher chloride penetration resistance than concrete with Portland cement type 1 only. For ternary binder concrete, it was found that the use of higher fly ash content and lower limestone powder content to replace cement content of concrete resulted in higher chloride penetration resistance. The increase of compressive strength of concrete resulted in higher chloride penetration resistance and lower weight loss of reinforcing steel en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account