DSpace Repository

การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้าและการอนุรักษ์

Show simple item record

dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:10:01Z
dc.date.available 2019-03-25T09:10:01Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1970
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้าและการอนุรักษ์ ในปีที่ 3 ได้ทำการศึกษาถึงผลของยาปฏิชีวนะต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในน้ำเชื้อปลาสวายที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว เป็นระยะเวลานาน 15 วัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม คือชุดที่เติม Extender 7 และชุดการทดลองที่ 2 คือ ชุดที่เติม Extender 7 ผสมกับยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 1% ผลการศึกษาพบว่า การเติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 1% สามารถลดแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดที่ปนเปื้อนในน้ำเชื้อปลาสวายได้ดีกว่าชุดควบคุม โดยสามารถลดปริมาณแบคทีเรียตั้งแต่ก่อนแช่แข็ง 100 เท่า และสามารถลดปริมาณแบคทีเรียนกลุ่มเฉทเทอโรโทรปทั้งหมดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ตามระยะเวลาการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว และสามารถลดชนิดของแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในน้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็งได้ดีกว่าชุดควบคุม ส่วนการรักษาถึงอัตราเคลื่อนที่และอัตราการมีชีวิตของสเปริม์ปลาสวายแช่แข็ง พบว่าการเติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 1% ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการเคลื่อนที่และอัตราการมีชีวิตของสเปริม์ปลาสวายแช่แข็ง นอกจากนี้ยังทำการศึกษาถึงอัตราการปฏิสนธิและการฟักของน้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็งโดยเปรียบเทียบกับน้ำเชื้อสด พบว่า น้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็งที่เติมยาปฏิชีวนะสามารถนำมาใช้ในการผสมเทียมได้ โดยมีอัตราการปฏิสนธิและการฟักเท่ากับ 46.67% และ 21.12% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าน้ำเชื้อสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ที่มีอัตราการปฏิสนธิและอัตราการฟักเป็น 79.24% และ 65.08% ตามลำดับ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การแช่แข็ง th_TH
dc.subject น้ำเชื้อ th_TH
dc.subject ปลาสวาย th_TH
dc.subject เทคโนโลยีการเก็บรักษา th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้าและการอนุรักษ์ th_TH
dc.title.alternative Sustainable development of storage technology of striped catfish (Pangasianodon hypophthalmus) Milt for commercial and conservation en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The purpose of research work in the third year entitted "sustainabte development of storage technotogy of Striped Catfish (Pongasianodon hypophtholmus) mitt for commercial and conservation)". The effect of antibiotic on inhibition of bacteria in cryopreserved mitt of striped catfish (Pongasianodon hypophtholmus) kept in l.iquid nitrogen was investigated during an experimental period of 150 days. There were 2 treatments which were the control group (supptemented with Extender 7) and the treated group (supp[emented with Extender 7 and 1olo peniciltin-streptomycin). The resutts showed that treatment supplemented with 170 penicittin-streptomycin was abte to reduce bacteria contaminated in striped catfish mitt better than the control for 100 times. The treated group with supp[ementation of 1.o/o penicitlin-streptomycin was able to decrease totaI heterotrophic bacteria 100 times at the step "before cryopreservation" and total heterotrophic bacteria in the treated group were significantty reduced (P < 0.05) throughout the cryostorage period in liquid nitrogen. ln addition, fertitization and hatching rates of cryopreserved mitt of striped catfish (Pangasionodon hypophthalmus), compared to the fresh mitt were investigated. Resutts showed that cryopreserved mitt of striped catfish (Pongosionodon hypophtholmus) was abte to be further used for artificial insemination with fertitization and hatching rates as 46.670/o and 21,.12o/o, respectively. However, fertitization and hatching rates of cryopreserved mitt of striped catfish (Pongasionodon hypophthalmus) were significantty lowered than those of the controts which were79.24olo and 6hO8o/o, respectively. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account