dc.contributor.author |
สุวรรณา รัศมีขวัญ |
|
dc.contributor.author |
กฤษณะ ชินสาร |
|
dc.contributor.author |
เบญจภรณ์ จันทรกองกุล |
|
dc.contributor.author |
ภูสิต กุลเกษม |
|
dc.contributor.author |
อัณณ์นุพันธ์ รอดทุกข์ |
|
dc.contributor.author |
Antony Harfield |
|
dc.contributor.author |
Keovessna Vong |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:09:59Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:09:59Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1950 |
|
dc.description.abstract |
ข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในลักษณะกระแสข้อมูล (DataStream) ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากข้อมูลโดยทั่วไป กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่มีคุณสมบัติของการมีความต่อเนื่อง ของค่าข้อมูลและการมาถึงของข้อมูลที่มีความเร็วสูง จึงต้องมีการจัดการเพื่อการประมวลผลอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้สนใจการหาวิธีการในการจัดการกับกระแสข้อมูลที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์ที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยด้วยเครื่องมือทาง การแพทย์ที่สามารถอ่านค่าข้อมูลเป็นค่าดิจิตัลได้ ซึ่งโดยปกติแพทย์มักจะใช้ข้อมูลจากการวัดค่าจาก เครื่องมือทางการแพทย์หลายตัววัดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับความจําเป็น สําหรับการรักษาผู้ป่วยแต่ละกรณี ผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดค่าทางการแพทย์ที่มี ความสําคัญต่อชีวิต เช่น ผู้ป่วยภายในห้อง ICU เพื่อให้แพทย์นําข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจเพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ค่าทางการแพทย์เหล่านั้น ได้แก่ ค่าความดันโลหิต (Blood pressure) ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ค่าอัตราการหายใจ (Respiration rate) ค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) ค่าอุณหภูมิร่างกาย (Body temperature) ค่าความ อิ่มตัวของออกซิเจน (Oxygen saturation) เป็นต้น แต่เนื่องจากข้อมูลที่ได้มีลักษณะเป็นกระแสข้อมูล ที่มีการสร้างขึ้นในทุกวินาทีและมาจากต่างอุปกรณ์ที่เป็นอิสระจากกันทําให้การมอนิเตอร์ผู้ป่วย ตลอดเวลาทําได้ยากและยังพบปัญหาด้านการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้สําหรับเรียกดูย้อนหลัง กล่าวคือ อาจมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ภายหลังแต่ทําให้สิ้นเปลืองหน่วยความจําและยังทําให้การเรียกดูข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลังไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนําเสนอวิธีการ Empirical Modelling ร่วมกับหลักการทาง Ontology ในการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ สามารถช่วยสนับสนุนการทํางานของแพทย์ โดยวิธีการนี้จะช่วยให้การตรวจติดตามอาการผู้ป่วยจากค่าทางการแพทย์หลายอุปกรณ์มีความสะดวกขึ้น และสามารถแจ้งเตือนสถานะของผู้ป่วยได้ถ้าต้องการ โดยให้แพทย์สามารถกําหนดกฎหรือเงื่อนไขในการแจ้งเตือนในแต่ละสถานการณ์ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย นอกจากนี้เครื่องมือนี้ยังช่วยให้แพทย์สามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังเพื่อพิจารณาความสอดคล้องของ เงื่อนไขในแต่ละอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องต่อกันซึ่งอาจทําให้เกิดข้อสังเกตหรือเกิดองค์ความรู้ ใหม่ที่สามารถนําไปปรับใช้ในการรักษาต่อไปได้ หรืออาจใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกนักเรียนแพทย์ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การวิเคราะห์ข้อมูล |
th_TH |
dc.subject |
ข้อมูลผู้ป่วย |
th_TH |
dc.subject |
ระบบคอมพิวเตอร์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
วิธีการออน์โทโลยีแบบปรับตัวได้ด้วยเทคนิค Empirical Modelling สำหรับการวิเคราะห์กระแสข้อมูลของผู้ป่วยในห้อง ICU |
th_TH |
dc.title.alternative |
Adaptive ontology using empirical modelling technique for analyzing data Stream of ICU patients |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2559 |
|
dc.description.abstractalternative |
Data stream is a special kind of computer data that has a distinctive nature from general type of data. That is, data stream contains data of continuous values and flow continuously into data sink with high speed. Such nature of data stream need a special kind of technique and tool to analyze to be able to make a proper use or decision. For this research, we interested in those data stream from medical equipment that provide digital values. Typically, doctor uses a number of different measurement values to help diagnose the patient depend on the need of each case. In certain case, a patient may need a number of life-critical equipment to monitor the symptom, such as a patient in the ICU unit. Those life-critical equipment measurements are Blood Pressure, Heart Rate, Respiration Rate, Electrocardiogram, Body Temperature and Oxygen Saturation. These data are of continuous value and are created every single time unit from a number of different and independent equipment. This leads to the difficulty in collecting and organizing them for reusing rather. This is because there is some part of those data that is no use and make the process of data retrieving inefficient. This research aims to propose a new methodology called Empirical Modelling together with the concept of Ontology to develop computer program that can be an assistive tool for Doctor. This method will help the monitoring process of multi medical measurements more convenience and can generate alarm if needed. Doctor can set rules and threshold of each measurement to be alarm depend upon each particular patient. In addition, doctor may use this tool to retrieve and replay with the data to find out the fitness of condition set forth by related equipment that may lead to new knowledge. The proposed method can also be used as an education tool for medical student to learn and experience the situation of monitoring ICU patient |
en |