Abstract:
ข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในลักษณะกระแสข้อมูล (DataStream) ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากข้อมูลโดยทั่วไป กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่มีคุณสมบัติของการมีความต่อเนื่อง ของค่าข้อมูลและการมาถึงของข้อมูลที่มีความเร็วสูง จึงต้องมีการจัดการเพื่อการประมวลผลอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้สนใจการหาวิธีการในการจัดการกับกระแสข้อมูลที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์ที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยด้วยเครื่องมือทาง การแพทย์ที่สามารถอ่านค่าข้อมูลเป็นค่าดิจิตัลได้ ซึ่งโดยปกติแพทย์มักจะใช้ข้อมูลจากการวัดค่าจาก เครื่องมือทางการแพทย์หลายตัววัดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับความจําเป็น สําหรับการรักษาผู้ป่วยแต่ละกรณี ผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดค่าทางการแพทย์ที่มี ความสําคัญต่อชีวิต เช่น ผู้ป่วยภายในห้อง ICU เพื่อให้แพทย์นําข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจเพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ค่าทางการแพทย์เหล่านั้น ได้แก่ ค่าความดันโลหิต (Blood pressure) ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ค่าอัตราการหายใจ (Respiration rate) ค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) ค่าอุณหภูมิร่างกาย (Body temperature) ค่าความ อิ่มตัวของออกซิเจน (Oxygen saturation) เป็นต้น แต่เนื่องจากข้อมูลที่ได้มีลักษณะเป็นกระแสข้อมูล ที่มีการสร้างขึ้นในทุกวินาทีและมาจากต่างอุปกรณ์ที่เป็นอิสระจากกันทําให้การมอนิเตอร์ผู้ป่วย ตลอดเวลาทําได้ยากและยังพบปัญหาด้านการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้สําหรับเรียกดูย้อนหลัง กล่าวคือ อาจมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ภายหลังแต่ทําให้สิ้นเปลืองหน่วยความจําและยังทําให้การเรียกดูข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลังไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนําเสนอวิธีการ Empirical Modelling ร่วมกับหลักการทาง Ontology ในการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ สามารถช่วยสนับสนุนการทํางานของแพทย์ โดยวิธีการนี้จะช่วยให้การตรวจติดตามอาการผู้ป่วยจากค่าทางการแพทย์หลายอุปกรณ์มีความสะดวกขึ้น และสามารถแจ้งเตือนสถานะของผู้ป่วยได้ถ้าต้องการ โดยให้แพทย์สามารถกําหนดกฎหรือเงื่อนไขในการแจ้งเตือนในแต่ละสถานการณ์ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย นอกจากนี้เครื่องมือนี้ยังช่วยให้แพทย์สามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังเพื่อพิจารณาความสอดคล้องของ เงื่อนไขในแต่ละอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องต่อกันซึ่งอาจทําให้เกิดข้อสังเกตหรือเกิดองค์ความรู้ ใหม่ที่สามารถนําไปปรับใช้ในการรักษาต่อไปได้ หรืออาจใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกนักเรียนแพทย์